CARI เข้าร่วมเสวนา Hub of Talents/Hub of Knowledge

Share to Social

วันที่ 3 สิงหาคม 2565 ศ.นพ.ณรงค์ ขันตีแก้ว รักษาการแทนผู้อำนวยการสถาบันวิจัยมะเร็งท่อน้ำดี มหาวิทยาลัยขอนแก่น พร้อมด้วย รศ.ดร.วัชรินทร์ ลอยลอม กรรมการและเลขานุการฯ ได้เข้าร่วมการเสวนาเรื่อง “ยกระดับขีดความสามารถของงานวิจัยและนวัตกรรมด้วย Hub of Talents และ Hub of Knowledge” ภายในงาน Thailand Research Expo 2022 ณ ห้อง Lotus 1-2 โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ และบางกอกคอนเวนชันเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพฯ  ที่จัดขึ้นโดย สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)  

งานในครั้งนี้เป็นงานเสวนาที่กล่าวถึงความเชื่อมโยงกับยุทธศาสตร์ของแผนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2566-2570 โดย ในช่วงแรก เป็นการปาฐกถาพิเศษ เรื่อง ทิศทางการพัฒนาศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญ (Hub of Talent) และศูนย์กลางด้านความรู้ (Hub of Knowledge) โดย ศาสตราจารย์กิตติคุณ นายแพทย์สุทธิพร จิตต์มิตรภาพ ประธานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม

จากนั้น ศาสตราจารย์ ดร.สักกมน เทพหัสดิน ณ อยุธยา จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ได้กล่าวถึง “ประเด็น: แนวทางการพัฒนาศูนย์กลางกำลังคนระดับสูง (Hub of Talents) และศูนย์กลางการเรียนรู้ (Hub of Knowledge) เพื่อรองรับการลงทุนและการพัฒนาประเทศในอนาคต” จากนั้น รองศาสตราจารย์ ดร.คมกฤต เล็กสกุล จากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ได้กล่าวถึง “ประเด็น : นโยบายการส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางกำลังคนระดับสูง (Hub of Talents) และศูนย์กลางการเรียนรู้ (Hub of Knowledge) ของอาเซียน” และ ดร.วิจารย์ สิมาฉายา ผู้อำนวยการสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย ได้กล่าวถึง “ประเด็น : กลไกการขับเคลื่อน และส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางกำลังคนระดับสูง (Hub of Talent) และศูนย์กลางการเรียนรู้ (Hub of Knowledge) ของอาเซียน”

จากนั้น เป็นการเสวนากรณีตัวอย่าง Hub of Talents และ Hub of Knowledge โดย สถาบันวิจัยมะเร็งท่อน้ำดี มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้ร่วมพูดคุยเสวนาในประเด็น “ศูนย์กลางการเรียนรู้โรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี” โดย ศ.นพ.ณรงค์ ได้กล่าวว่า “สถาบันวิจัยมะเร็งท่อน้้าดี มหาวิทยาลัยขอนแก่น มีความมุ่งหวังที่จะดำเนินการวิจัยเพื่อแก้ไขปัญหาโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดีอย่างยั่งยืนโดยมีประชาชนเป็นศูนย์กลาง โดยมีวิสัยทัศน์ที่จะ “เป็นศูนย์กลางการวิจัยและพัฒนาที่มีความเป็นเลิศทางวิชาการในด้านโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดีของโลก” ซึ่ง สถาบันวิจัยมะเร็งท่อน้ำดี ทำหน้าที่ประสานความร่วมมือทั้งในระดับชาติและนานาชาติเพื่อดำเนินการวิจัย สร้างองค์ความรู้และถ่ายทอดเทคโนโลยีในการป้องกัน วินิจฉัยและรักษาโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้้าดีในประชาชน ซึ่งเป็นงานที่ถือเป็นความโดดเด่นของมหาวิทยาลัยขอนแก่น ภายใต้วัตถุประสงค์หลัก ดังนี้
1) พัฒนางานวิจัยเพื่อป้องกันและลดอุบัติการณ์ของโรคโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้้าดีในประชาชน
2) พัฒนางานวิจัยเพื่อก้าหนดมาตรฐานในการคัดกรอง เฝ้าระวัง วินิจฉัยและรักษารวมทั้งเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยเร็งท่อน้้าดี
3) พัฒนารูปแบบการจัดการองค์ความรู้ แสวงหาความร่วมมือระหว่างหน่วยงานทั้งในระดับชาติและนานาชาติ เพื่อถ่ายทอดความรู้จากการวิจัยสู่แนวปฏิบัติที่เป็นรูปธรรมและยั่งยืนในชุมชน
4) พัฒนาสถาบันให้มีความเป็นเลิศทางวิชาการและเสริมสร้างความเข้มแข็งของนักวิจัยรุ่นใหม่และบัณฑิตศึกษา

โดยสถาบันฯ ขับเคลื่อนงานวิจัยเพื่อแก้ไขปัญหาโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดีแบบครบวงจร ตั้งแต่ระดับปฐมภูมิ ทุติยภูมิ และตติยภูมิ โดยเน้นให้ประชาชนเป็นศูนย์กลาง โดยในการทำงานจะมีการประสานความร่วมมือกับหน่วยงานทั้งภายในมหาวิทยาลัย หน่วยงานภายนอกมหาวิทยาลัยทั้งในภาครัฐและภาคเอกชน และที่สำคัญที่สุดคือการประสานความร่วมมือกับต่างประเทศเพื่อร่วมค้นคว้าและพัฒนางานวิจัย องค์ความรู้ เทคโนโลยี วิธีใหม่ๆ และที่สำคัญคือเงินทุนวิจัย โดยขณะนี้เราได้มีความร่วมมือจากมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ทั้งในสหรัฐอเมริกา ยุโรป และประเทศของเอเชียของเรา เช่น George Washington University, Imperial College London , SOAS University of London , Karlsruhe Institute of Technology, Keio University และ National University of Singapore เป็นต้น กัลยาณมิตรทั้งหลายเหล่านี้ได้ร่วมทำงานกับพวกเราเป็นอย่างดี และได้ประโยชน์ร่วมกันแบบเพื่อนช่วยเพื่อน (WIN-WIN) ซึ่งการท้างานแบบนี้นอกจากจะได้ท้างานเพื่อประชาชน ได้องค์ความรู้และประโยชน์ด้านอื่นทางวิชาการแล้ว เรายังได้พัฒนาคนรุ่นใหม่ขึ้นมา และคนรุ่นใหม่เหล่านี้ก็จะมีเพื่อนทางวิชาการอีกมากมายที่จะสามารถพัฒนางานทางวิชาการร่วมกันได้อีกในอนาคต จึงเป็นความหวังว่ามหาวิทยาลัยขอนแก่น จะสามารถพัฒนางานด้านวิจัยไปได้อย่างมากมายในอนาคต โดยมิได้มุ่งหวังเพียงแต่ปริมาณชิ้นงานทางการวิจัยแต่เพียงอย่างเดียว แต่หากมุ่งหวังในการสร้างคน สร้างนักวิจัยรุ่นใหม่ๆ จากการทำงานร่วมกันแบบสหสาขาวิชาชีพ และร่วมกับกัลยาณมิตรจากทั่วโลก นี่คือพื้นฐานการพัฒนาที่สำคัญในอนาคตอันใกล้นี้”

ปัจจุบัน สถาบันวิจัยมะเร็งท่อน้ำดี มหาวิทยาลัยขอนแก่น มีนักวิจัยที่ร่วมทีมวิจัย จำนวนมากกว่า 123 คน จาก 7 ประเทศทั่วโลก มีผลงานตีพิมพ์เผยแพร่มากกว่า 543 ผลงาน (ปี 2554-2564) มีบัณฑิตที่จบการศึกษาระดับปริญญาเอก ไปแล้วจำนวน 64 คน ระดับปริญญาโท จำนวน 58 คน (ปี 2553-2564) ฝึกอบรมรังสีแพทย์เชิงปฏิบัติการตรวจคัดกรองมะเร็งท่อน้ำดี ไปแล้วจำนวน 1,388 คน (ปี 2558-2565) และได้ฝึกอบรมผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านคลินิกอนุสาขาศัลยศาสตร์ตับ ตับอ่อนและทางเดินน้ำดี ระหว่างปี 2557-2565 ไปแล้วกว่า 21 คน และมีการศึกษาดูงานจากหน่วยงาน องค์กร มหาวิทยาลัย และสถาบันต่างๆ จากทั้งในและต่างประเทศ

ภาพ : รศ.ดร.วัชรินทร์ ลอยลม
ข่าว : ปณิธาน ศรีบุญเรือง

Facebook Comments Box