Fluke Free Thailand

Share to Social

มะเร็งท่อน้ำดี (cholangiocarcinoma)” คือ มะเร็งที่เกิดจากความผิดปกติของเซลล์เยื่อบุน้ำดีทั้งในและนอกตับพบคนไทยเสียชีวิตจากโรคมะเร็งท่อน้ำดีและตับจำนวนประมาณ 10,000 – 20,000 รายต่อปี โดยกว่าครึ่งหนึ่งเป็นคนภาคตะวันออกเฉียงเหนือองค์การอนามัยโลกได้จัดให้โรคพยาธิใบไม้ตับเป็นสาเหตุสำคัญของมะเร็งชนิดนี้ ได้มีการนำความรู้จากผลการวิจัยจากมหาวิทยาลัยขอนแก่นไปป้องกัน ค้นหา เฝ้าระวัง เพื่อหาผู้ป่วยมะเร็งระยะแรก เพื่อจะได้รับการรักษาให้หายได้ทันการณ์ เพราะประมาณร้อยละ 55 เกิดขึ้นกับประชากรวัยทำงานที่เป็นหัวหน้าครอบครัวอายุระหว่าง 40-60 ปี ซึ่งถือเป็นโรคที่รุนแรงและก่อให้ เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจ สังคม คุณภาพชีวิตของคนในสังคมเป็นอย่างมากและแม้หน่วยงานทางสาธารณสุขจะได้รณรงค์ประชาสัมพันธ์ ให้ความรู้ ในการระวังป้องกันและควบคุมโรคพยาธิใบไม้ตับอย่างต่อเนื่อง กระทั่งทำให้การระบาดของโรคพยาธิใบไม้ตับในไทยลดลงเป็นลำดับ จากร้อยละ 36 ในปี 2531 เป็นร้อยละ 10 ในปี 2545 แต่ในความเป็นจริงพบว่าความถี่ของการติดเชื้อของโรคพยาธิใบไม้ตับของประชาชน มีความผันแปรอย่างมาก โดยเฉพาะการติดเชื้อพยาธิบริเวณรอบ ๆ แหล่งน้ำจืด พบการเกิดโรคมะเร็งท่อน้ำดีในผู้ป่วยที่อายุมากกว่า 40 ปี ยังไม่ลดลง มีความผันแปรตั้งแต่ ร้อยละ 2 ถึงร้อยละ 70 สถิติการเกิดโรคอยู่ระหว่าง 93 – 318 คนต่อประชากรหนึ่งแสนคนต่อปี และวันนี้สถานการณ์อุบัติการณ์ของโรคมะเร็งท่อน้ำดีไม่ได้มีแนวโน้มลดลงตามโรคพยาธิใบไม้ตับอย่างที่ควรจะเป็น

ด้วยเหตุนี้ทางมหาวิทยาลัยขอนแก่น ในฐานะเป็นมหาวิทยาลัยแห่งการวิจัยที่ใหญ่ที่สุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้ตระหนักถึงปัญหานี้  และในโอกาสที่มหาวิทยาลัยขอนแก่นครบวาระ 50 ปีแห่งการสถาปนาในปี 2557 จึงได้คัดเลือกโครงการแก้ไขปัญหาโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดีในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (CASCAP) ให้เป็นหนึ่งในสี่โครงการของ “มหาวิทยาลัยขอนแก่น 50 ปีแห่งการอุทิศเพื่อสังคม” เพื่อเป็นการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค การคัดกรองโรค การวินิจฉัยและการดูแลรักษา การวิจัยพัฒนาคุณภาพในการให้การดูแลรักษา และการติดตามประเมินผลในการดูแลรักษาเพื่อลดอัตราการเสียชีวิตจากโรคมะเร็งท่อน้ำดี ลดการสูญเสียทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม โดยการดำเนินงานผ่านกิจกรรมหลัก 4 ด้านได้แก่

กิจกรรมที่ 1 การสร้างเครือข่ายการคัดกรอง การเฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยงและการรักษาผู้ป่วยมะเร็งท่อน้ำดี

กิจกรรมที่ 2 การสร้างฐานข้อมูลเพื่อติดตามกลุ่มเสี่ยงและผู้ป่วยมะเร็งท่อน้ำดี (http://www.cascap.in.th/ และhttps://cloud.cascap.in.th/)

กิจกรรมที่ 3 การคัดกรอง การเฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยงและการรักษาผู้ป่วยมะเร็งท่อน้ำดี

กิจกรรมที่ 4 การอบรมแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์เพื่อการคัดกรอง การเฝ้าระวังและ การรักษาผู้ป่วยมะเร็งท่อน้ำดี

โดยทำงานของโครงการ 2 ปีที่ผ่านมาได้ก่อให้เกิดแรงผลักดันให้วาระการกำจัดปัญหาพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดีในประชาชนเข้าสู่การพิจารณาในการประชุมสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 7 เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2557 และสมัชชาสุขภาพแห่งชาติได้ออกประกาศรับรองวาระนี้เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558 ต่อมาที่ประชุมคณะรัฐมนตรีได้ผ่านมติเห็นชอบเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2558 จากนั้นได้มีประกาศคณะรัฐมนตรีให้กระทรวง ทบวง กรมและหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติดังกล่าว นอกจากนี้ยังมีผลให้กระทรวงสาธารณสุขประกาศให้การแก้ไขปัญหาพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดีเป็นนโยบายของกระทรวงสาธารณสุข โดยในปี 2559 ทั้งนี้โครงการแก้ไขโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดีในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (CASCAP) มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้ร่วมมือกับกระทรวงสาธารณสุขและมูลนิธิสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ จัดทำโครงการ “การกำจัดปัญหาโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดีถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จขึ้นครองราชย์ครบ 70 ปี ในปีพุทธศักราช 2559 พร้อมทั้งสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถจะทรงเจริญพระชนมพรรษา 84 พรรษาตลอดจนในปีพุทธศักราช 2560 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จะทรงเจริญพระชนมพรรษา 90 พรรษา” ดังนั้นจึงถือเป็นโอกาสอันดีที่จะดำเนินโครงการเพื่อการควบคุมป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดีอย่างครบวงจรและบูรณาการ เพื่อให้เข้าสู่เป้าหมายการกำจัดพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดีให้หมดสิ้นไปจากสังคมไทย

ดังนั้นโครงการที่เสนอขอทุนวิจัยโครงการวิจัยท้าทายไทย: Fluke Free Thailand ในครั้งนี้จะเป็นการทำงานเพื่อแก้ไขปัญหาโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดีแบบครบวงจรตั้งแต่ระดับปฐมภูมิ ทุติยภูมิ และตติยภูมิ โดยระดับปฐมภูมิ จะมีการพัฒนาเรื่องการวินิจฉัยและรักษาโรคพยาธิใบไม้ตับ โดยจะพัฒนาชุดตรวจปัสสาวะ ที่สามารถตรวจแอนติเจนของพยาธิใบไม้ตับที่ขับออกทางปัสสาวะ รวมทั้งให้การรักษาทันทีหลังจากทราบผลการวินิจฉัย มีการพัฒนาเรื่องปลาปลอดพยาธิ ที่จะมีกระบวนการทำที่ได้มาตรฐานว่าปลาเหล่านี้ปลอดพยาธิ สามารถนำไปประกอบอาหาร หรือแปรรูปได้อย่างปลอดภัย มีการกำจัดพยาธิในสัตว์รังโรคโดยเฉพาะสุนัขและแมว รวมทั้งมีการจัดระบบการกำจัดสิ่งปฏิกูล ซึ่งทั้งหมดจะนำไปสู่ความพยายามในการตัดวงจรชีวิตของพยาธิใบไม้ตับในทุกขั้นตอนที่ทำให้พยาธิดำรงชีพอยู่ได้มีการนำหลักสูตรการเรียนรู้เพื่อให้เด็ก เยาวชน รู้จักพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี และมีวิธีปฏิบัติตัวไม่ให้เสี่ยงกับโรคมาใช้ในการเรียนการสอนด้วย นอกจากนี้ยังจะเกิดการพัฒนาอำเภอต้นแบบในการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดีที่มีการบูรณาการการดำเนินงานต่างๆข้างต้น ไปจนถึงมีระบบการคัดกรองกลุ่มเสี่ยง ตรวจวินิจฉัยและส่งต่อเพื่อการรักษาโรคมะเร็งท่อน้ำดีอย่างครบวงจร ส่วนในระดับทุติยภูมิ จะมีตรวจคัดกรองกลุ่มเสี่ยงด้วยเครื่องอัลตราซาวด์ และในระดับตติยภูมิจะมีพัฒนาเรื่องการรักษามะเร็งท่อน้ำดี และการรักษาแบบประคับประคองเพื่อดูแลกลุ่มผู้ป่วย รวมทั้งเปิดโอกาสให้ผู้ป่วยได้เข้าถึงการรักษาด้วยยาเคมีบำบัดมากยิ่งขึ้น โดยการทำงานทั้ง 3 ระดับ ถูกเชื่อมร้อยด้วยระบบฐานข้อมูล CASCAP Tools ซึ่งจะทำให้สามารถกระจายขอบเขตจากเครือข่ายโรงพยาบาลที่มีอยู่เดิมขยายไปทั่วภาคอีสาน สิ่งที่จะเกิดขึ้นคือระบบข้อมูลและฐานข้อมูลขนาดใหญ่ของคน 20 ล้านคนเพื่อติดตามพฤติกรรมการตรวจ วินิจฉัยและรักษากลุ่มเสี่ยงและกลุ่มผู้ป่วยโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดีในระยะยาวตั้งแต่เกิดความผิดปกติในตับจนถึงเป็นมะเร็งท่อน้ำดีในระยะเริ่มแรก โดยเรียกฐานข้อมูลนี้ว่า Isan cohortซึ่งการทำงานจะเป็นการประสานความร่วมมือของหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้องการแก้ไขปัญหาในเรื่องนี้เข้ามาร่วมทำงานอย่างเป็นรูปธรรม และเป็นการนำผลจากการวิจัยมาพัฒนาและนำไปใช้จริงเพื่อแก้ปัญหาให้กับประเทศ

  1. 3. วัตถุประสงค์ของการทำกิจกรรมบริหารจัดการโครงการวิจัย

เพื่อบริหารจัดการส่งเสริมและสนับสนุนให้การดำเนินกิจกรรมต่างๆของโครงการวิจัยท้าทายไทย: Fluke Free Thailand สามารถสร้างผลสัมฤทธิ์ตามแผนของโครงการโดยประสานความร่วมมือการทำงานวิจัยจากโครงการย่อยทั้งหมด 8 โครงการ (แผนภาพที่1) รวมทั้งประสานความร่วมมือจากหน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบได้แก่ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกระทรวงมหาดไทย โดยมหาวิทยาลัยขอนแก่นที่เป็นหน่วยงานรับผิดชอบหลักยังประกอบด้วยคณะทำงานที่มีความเชี่ยวชาญทุกๆด้านที่มาจากคณะวิชาต่างๆ ได้แก่คณะแพทยศาสตร์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ คณะเกษตรศาสตร์ และสำนักวิทยบริการ เป็นต้น ให้มาร่วมดำเนินโครงการแก้ไขปัญหาโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดีแบบครบวงจรและบูรณาการตั้งแต่ระดับปฐมภูมิ ทุติยภูมิ และตติยภูมิ และมีระบบการเก็บและบริหารจัดการข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่สามารถให้เกิดการติดตามและประมวลผลการทำงานได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ และมีการติดตามและประเมินผลการทำงานด้วยงานวิจัยซึ่งจะส่งผลให้การดำเนินโครงการเป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้และส่งผลให้ “ประชาชนเข้าถึงการบริการที่เกี่ยวข้องกับพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี ทั้งในระดับปฐมภูมิ ทุติยภูมิ และตติยภูมิ อย่างทันเวลา เท่าเทียม มีคุณภาพ และสมศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์”โดยโครงการย่อยทั้ง 8 โครงการมีดังนี้

โครงการย่อยที่ 1 อาหารปลอดภัย : ปลาปลอดพยาธิ

หัวหน้าโครงการ   รศ.สพ.ญ.ดร. ธิดารัตน์ บุญมาศ  ภาควิชาปรสิตวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อสำรวจการการติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับในปลาและหอยในพื้นที่ที่มีการระบาด 84 อำเภอ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและเหนือของประเทศไทย
  2. เพื่อให้มีแบบผลิตภัณฑ์ปลาปลอดพยาธิได้ เพื่อลดการติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับ

โครงการที่ย่อย การรักษาโรคพยาธิใบไม้ตับชนิดOpisthorchisviverriniในสุนัขและแมวแบบกลุ่ม

หัวหน้าโครงการ   ผศ. นสพ. สุรสิทธิ์ อ้วนพรม ภาควิชาพยาธิชีววิทยา คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อรักษาพยาธิใบไม้ตับชนิดOpisthorchisviverriniในสุนัขและแมวในหมู่บ้านที่เป็นพื้นที่ระบาด 84 อำเภอ 110 หมู่บ้านของประเทศไทย

โครงการย่อยที่ 3 แผนภูมิความชุกและระบาดวิทยาของโรคพยาธิใบไม้ตับ ใน 27 จังหวัดของประเทศไทย: การประยุกต์ใช้การตรวจวินิจฉัยวิธีใหม่ในการกำจัดพยาธิในชุมชนต้นแบบ

หัวหน้าโครงการ ศ.ดร.ไพบูลย์ สิทธิถาวร  ภาควิชาปรสิตวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

วัตถุประสงค์

  1. สร้างแผนภูมิการระบาดของพยาธิใบไม้ตับเชิงพื้นที่ในสถานการณ์ปัจจุบัน โดยหารูปแบบการกระจายอัตราชุกและความหนาแน่นของพยาธิใบไม้ตับจากการตรวจอุจจาระวิธีใหม่ (Parasep stool kit) ผสมผสานกับการตรวจปัสสาวะในชุมชนต้นแบบใน 152 หมู่บ้านของ 84 อำเภอใน 27 จังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือและภาคกลาง
  2. ประยุกต์ใช้การตรวจแอนติเจนในปัสสาวะเพื่อวินิจประเมินหาอัตราชุกและความหนาแน่นของพยาธิในระยะยาวเปรียบเทียบกับวิธีการตรวจอุจจาระวิธี Parasep stool kit และ quantitative FECT
  3. ติดตามผลการให้ยา praziquantel ต่อพลวัตรการะบาดพยาธิใบไม้ตับในประชากรกลุ่มเดิม (cohort population) จำนวน 15,000 คนเพื่อติดตามความหนาแน่น การติดเชื้อซ้ำ การติดเชื้อใหม่โดยใช้การตรวจปัสสาวะเป็นเกณฑ์ตัดสิน
  4. จัดทำฐานข้อมูลระบาดวิทยาของพยาธิใบไม้ตับระยะยาวใน Isan cohort

โครงการย่อยที่ 4 การจัดระบบสุขาภิบาลเพื่อกำจัดการติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับ

หัวหน้าโครงการ ดร.ฤทธิรงค์ จังโกฏิสาขาวิชาอนามัยสิ่งแวดล้อม อาชีวอนามัยและความปลอดภัยคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

วัตถุประสงค์

  1. ศึกษาสภาพปัจจุบันและจัดทำฐานข้อมูลการจัดการสิ่งปฏิกูลของชุมชนเป้าหมาย
  2. ศึกษารูปแบบที่เหมาะสมในการจัดการสิ่งปฏิกูลของชุมชนเป้าหมายโดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วม
  3. ส่งเสริมการดำเนินกิจกรรมรูปแบบที่เหมาะสมในการจัดการสิ่งปฏิกูลในชุมชนเป้าหมายเพื่อให้เป็นชุมชนต้นแบบในการจัดการสิ่งปฏิกูลเพื่อกำจัดการติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับ

โครงการย่อยที่ 5 การพัฒนาและบำรุงรักษาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับ การเฝ้าระวังพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดีในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (Isan Cohort)

หัวหน้าโครงการ รศ.ดร.บัณฑิต ถิ่นคำรพ ศูนย์บริหารจัดการข้อมูลและวิเคราะห์ทางสถิติ (Data Management and Statistical Analysis Center: DAMASAC) คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

วัตถุประสงค์

  1. 1. เพื่อพัฒนาซอฟต์แวร์ ชื่อ Isan Cohort สำหรับการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา (epidemiological surveillance) สำหรับพฤติกรรมเสี่ยง พยาธิใบไม้ตับ และมะเร็งท่อน้ำดี สำหรับชาวอีสานทุกคน โดยใช้ประชาชนเป็นศูนย์กลาง และไม่มีพรมแดนของเขตผู้ให้บริการ โดยให้สามารถใช้งานบนอินเตอร์เน็ต แบบ real time และสามารถติดตามผลได้ในระยะยาว
  2. 2. เพื่อดำเนินการใช้งาน ติดตามประเมินผล พัฒนา และบำรุงรักษาซอฟต์แวร์ Isan Cohort

เพื่อจัดการข้อมูล ที่ได้จาก Isan Cohort วิเคราะห์ข้อมูล และจัดทำรายงาน เพื่อการให้บริการที่ทั่วถึง สอดคล้องกับลักษณะปัญหา และทันเวลา

โครงการย่อยที่ 6 หลักสูตรเกี่ยวกับโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดีในโรงเรียนและประชาชนทั่วไป

หัวหน้าโครงการ กระทรวงศึกษาธิการ

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อจัดทำและนำหลักสูตรเกี่ยวกับโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดีไปใช้ในโรงเรียน
  2. เพื่อผลิตสื่อให้ความรู้ในเรื่องของโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดีไปใช้ในประชาชนทั่วไป

โครงการย่อยที่ 7 การตรวจคัดกรองกลุ่มเสี่ยงมะเร็งท่อน้ำดี

หัวหน้าโครงการ รศ.พญ.นิตยา ฉมาดล  ภาควิชารังสีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อคัดกรองกลุ่มเสี่ยงมะเร็งท่อน้ำดีด้วยวิธีอัลตร้าซาวด์ จำนวน 100,000 คน ใน 27 จังหวัด รวมทั้งนำผู้สงสัยว่าเป็นมะเร็งท่อน้ำดีจากการตรวจคัดกรองเข้าสู่ระบบการตรวจยืนยันและการรักษา
  2. เพื่อติดตามเฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยงสูงเพื่อให้สามารถตรวจพบผู้ป่วยมะเร็งท่อน้ำดีระยะเริ่มแรกที่ยังไม่ปรากฎอาการทางคลินิกให้สามารถเข้ารับการรักษาได้อย่างรวดเร็วทันการณ์

โครงการย่อยที่ 8 การศึกษาแบบสุ่มของการรักษาเสริมด้วยเคมีบำบัดสองขนานระหว่าง cisplatin และ gemcitabine เปรียบเทียบกับ gemcitabine ในผู้ป่วยผู้ใหญ่โรคมะเร็งท่อน้ำดี

หัวหน้าโครงการ ผศ.พญ.เอื้อมแข สุขประเสริฐ  ภาควิชาอายุรศาสตร์  คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อนำผู้ป่วยมะเร็งท่อน้ำดีเข้าถึงการรักษาด้วยยาเคมีบำบัด
  2. ศึกษาระยะเวลาการรอดชีวิตโดยรวม (median overall survival time) ในผู้ป่วยมะเร็งท่อน้ำดีที่ได้รับการรักษาเสริมด้วยเคมีบำบัด (adjuvant chemotherapy) เปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม
  3. ศึกษาระยะเวลาการปลอดโรค (disease-free survival rate) ในผู้ป่วยมะเร็งท่อน้ำดีที่ได้รับการรักษาเสริมด้วยเคมีบำบัด (adjuvant chemotherapy) เปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม

โครงการย่อยที่ ผลกระทบของการดำเนินงานโครงการท้าทายไทยต่อการเปลี่ยนแปลงนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหาโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี

หัวหน้าโครงการ ผศ.ดร.พัชรี สุริยะ  ภาควิชาเศรษฐศาสตร์เกษตร  คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลกระทบของการดำเนินงานโครงการท้าทายไทยต่อการเปลี่ยนแปลงนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหาโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี

 

โครงการย่อยที่ 10 การศึกษาทางมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์เพื่อแก้ปัญหาโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี”

หัวหน้าโครงการ รศ.ดร. ประสิทธิ์ คุณุรัตน์ สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ปัญหาโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดีในเชิงของด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์เพื่อนำไปสู่การแก้ปัญหาแบบยั่งยืน

แผนภาพที 1 การแก้ไขปัญโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดีแบบครบวงจรและบูรณาการ

plan

  1. 4. แนวทางการดำเนินงานและวิธีการบริหารแผนงานตามขอบเขตการดำเนินงาน

แนวทางการดำเนินงานและวิธีการบริหารตามขอบเขตของการดำเนินงานจะกำหนดให้มีกรรมการทั้งหมด 2 ชุด ประกอบด้วย

  • คณะกรรมการอำนวยการซึ่งจะทำหน้าที่ในการให้คำแนะนำและประเมินผลการปฏิบัติงานของการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามแผนของโครงการ ซึ่งคณะกรรมการชุดนี้จะประกอบไปด้วย
  1. ผู้ทรงคุณวุฒิจาก วช
  2. อธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น
  3. รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและถ่ายทอดเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยขอนแก่น
  4. ผู้ทรงคุณวุฒิจากกระทรวงสาธารณสุข (นพ.คำนวณ อึ้งชูศักดิ์)
  5. เลขาธิการมูลนิธิมะเร็งท่อน้ำดี (ศ.ดร.พวงรัตน์ ยงวณิชย์)
  6. ผู้อำนวยการโครงการ (รศ.นพ. ณรงค์ ขันตีแก้ว)
    • คณะกรรมการบริหารซึ่งจะทำหน้าที่ในการบริหารจัดการรวมถึงควบคุมและกำกับการดำเนินงานของโครงการวิจัยฯ ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ แผนงาน และเป้าหมายที่ตั้งไว้ซึ่งคณะกรรมการชุดนี้จะประกอบไปด้วย
  7. รศ.นพ. ณรงค์ ขันตีแก้ว ประธาน
  8. ศ.ดร.ไพบูลย์ สิทธิถาวร กรรมการ
  9. รศ.พญ.นิตยา ฉมาดล กรรมการ
  10. รศ.สพญ.ดร.ธิดารัตน์ บุญมาศ กรรมการ
  11. รศ.ดร.บัณฑิต ถิ่นคำรพ กรรมการ
  12. ผศ. นสพ. สุรสิทธิ์ อ้วนพรมมา กรรมการ
  13. ผศ.พญ.เอื้อมแข สุขประเสริฐ กรรมการ
  14. รศ.ดร.นิษณา นามวาท กรรมการ
  15. รศ.ดร.วัชรินทร์ ลอยลม กรรมการและเลขานุการ
  16. ดร.อัญชลี เตชะเสน กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ

นอกจากนี้ยังจะจัดให้มีคณะทำงานส่วนกลางเพื่อทำหน้าที่ในการดูแลและประสานงานงานเรื่องธุรการ การเงินและการบัญชีให้กับแต่ละโครงการย่อย รวมไปถึงการจัดทีมงานฝ่ายประชาสัมพันธ์และสื่อสารองค์กรเพื่อเผยแพร่ผลการทำงานให้เป็นที่รับรู้รับทราบในวงกว้างอีกด้วย

  1. 5. ขอบเขตของการกิจกรรมบริหารจัดการโครงการวิจัย

ขอบเขตของการทำงานจะครอบคลุมถึงการกำหนดแผนงานและกิจกรรม การประสานงานและอำนวยความสะดวก การบริหารจัดการบัญชีและการเงิน การบริหารจัดการบุคคล การพัฒนาฐานข้อมูลกลาง การติดตามส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัยการเชิญและการจัดการประชุม การจัดทำรายงานในภาพรวมของโครงการ การเผยแพร่กิจกรรมและแผนการดำเนินงานในภาพรวมของโครงการสู่สาธารณะ การกำกับและการดูแลการดำเนินงานแต่ละโครงการให้เป็นไปตามข้อเสนอการวิจัย ซึ่งจะทำให้การร่วมกันแก้ไขปัญหาโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดีสัมฤทธิ์ผล

  1. 6. แผนการบริหารจัดการแผนการทำกิจกรรมบริหารจัดการโครงการวิจัย

การบริหารจัดการแผนการทำกิจกรรมส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัยของโครงการ Fluke Free Thailand กำหนดให้มีคณะกรรมการอำนวยการซึ่งเป็นผู้ทรงคุณวุฒิจากสภาวิจัยแห่งชาติ ผู้ทรงคุณวุฒิจากกระทรวงสาธารณสุข อธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและถ่ายทอดเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยขอนแก่น มูลนิธิมะเร็งท่อน้ำดีซึ่งเป็นหน่วยงานพันธมิตรในการดำเนินโครงการ และผู้อำนวยการโครงการทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาและติดตามประเมินผลในการดำเนินโครงการ และมีคณะกรรมการบริหารซึ่งประกอบด้วยผู้อำนวยการโครงการ หัวหน้าโครงการย่อยต่างๆ ซึ่งจะทำหน้าที่อกำหนดให้มีคณะทำงานกลางเพื่อดูแลเรื่องงานธุรการ งานการเงินและการบัญชี และมีหัวหน้าโครงการย่อยแต่ละโครงการทำหน้าที่เป็นผู้ประสานงานกับคณะทำงานกลาง

ขั้นตอนการดำเนินงานบริหารแผนงานวิจัย

  1. ประชุมคณะนักวิจัยเพื่อชี้แจงรายละเอียดของแต่ละโครงการวิจัย เพื่อทำความเข้าใจและกำหนดเป้าหมายกลยุทธิ์ในการดำเนินงานวิจัยของแต่ละโครงการ การประชุมนี้จะจัดในช่วงแรกของการดำเนินโครงการ
  2. มีทีมของ project site manager เพื่อออกติดตามผลการดำเนินงานวิจัย ณ หน่วยงานเครือข่ายทุกเดือน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อติดตามความก้าวหน้าผลการทำงานของแต่ละโครงการวิจัยตามพื้นที่เครือข่ายที่เป็นเป้าหมาย เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ข้อเสนอแนะ รวมทั้งรับทราบปัญหาของการดำเนินการวิจัย เพื่อที่จะรายงานให้กับคณะกรรมการบริหารโครงการวิจัยทุกเดือนเพื่อหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาต่อไป นอกจากนี้ยังจัดการทำระบบ remote และ online consultation เพื่อรับปรึกษาและแก้ไขปัญหาในการทำงานวิจัย
  3. ประชุมคณะกรรมการบริหาร คณะนักวิจัยและทีมผู้ช่วยวิจัยทุก3 เดือนเพื่อรายงานความก้าวหน้าของงานวิจัยรวมไปถึงเพื่อติดตามผลการดำเนินงาน ปัญหาหรืออุปสรรคในการดำเนินการวิจัยทั้งนี้เพื่อที่จะได้ร่วมกันวางแผนหรือแก้ไขปัญหาหรออุปสรรคที่เกิดขึ้น
  4. ประชุมร่วมกันระหว่างคณะกรรมการอำนวยการ คณะกรรมการบริหารและคณะนักวิจัย เพื่อรายงานความก้าวหน้าและผลของการดำเนินงาน พร้อมทั้งรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากคณะกรรมการอำนวยการและที่ปรึกษาโครงการ ซึ่งการประชุมเช่นนี้จะทำปีละ 1 ครั้งแต่ในปีที่ 1 และปีที่ 3 จะจัดการประชุมปีละ 2 ครั้งคือเมื่อเริ่มโครงการในปีที่ 1 และเมื่อสิ้นสุดโครงการในปีที่ 3
  5. จัดทำรายงานความก้าวหน้าของแต่ละโครงการวิจัยและแผนงานวิจัยเพื่อเสนอต่อแหล่งทุนทุก 6 เดือน
  6. จัดประชุมวิชาการเพื่อแสดงผลสัมฤทธิ์ของโครการวิจัยให้แก่บุคลากรของหน่วยงานเครื่อข่าย ผู้บริหารของกระทรวงต่างๆที่เกี่ยวข้อง โดยจะจัดในช่วงปีสุดท้ายของแผนงานวิจัย
  7. จัดทำรายงานสรุปผลการวิจัยของแต่ละโครงการวิจัยและแผนงานวิจัยเพื่อนำเสนอต่อแหล่งทุน

ในส่วนของวิธีการดำเนินงานของแผนงานวิจัยจะเป็นการบริหารจัดการของโครงการวิจัยต่างๆเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการวิจัย โดยแต่ละโครงการวิจัยสามารถเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างกันได้ดังแผนภาพ ที่ 2

แผนภาพที่ 2 แสดงโครงสร้างของการบริหารจัดการแผนงานวิจัยและโครงการวิจัยย่อย

2016-09-25_17-46-31

  1. 7. ระยะเวลาในการดำเนินงานของแผนงานแต่ละขั้นตอนที่ต้องใช้ในการดำเนินการ (Time Schedule) ในลักษณะเป็นตารางเวลากับงานให้มีความสัมพันธ์กันเป็นช่วงๆตามลำดับความสาคัญของงานพร้อมคำอธิบายประกอบทุกงานตามหลักวิชาการ

ตารางที่ 1 กิจกรรมการทำงานปีที่ 1 ของแผนงานวิจัย

รายละเอียดกิจกรรม เดือน
1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12
1. ประชุมคณะนักวิจัยเพื่อชี้แจงรายละเอียดของแต่ละโครงการวิจัย  /                      
2. ประชุมร่วมกับทีม project site manager เพื่อติดตามผลการดำเนินงาน   / / / / / / / / / / /
3. ประชุมคณะกรรมการบริหาร คณะนักวิจัยและทีมผู้ช่วยวิจัย     /     /     /     /
4. ประชุมร่วมกันระหว่างคณะกรรมการอำนวยการ คณะกรรมการบริหารและคณะนักวิจัย /                     /
5. จัดทำรายงานความก้าวหน้าของแต่ละโครงการวิจัยและแผนงานวิจัย           /           /
6. จัดประชุมวิชาการเพื่อแสดงผลสัมฤทธิ์ของโครการวิจัย                       /
7. จัดทำรายงานสรุปผลการวิจัยของแต่ละโครงการวิจัยและแผนงานวิจัย                       /

ตารางที่ 2 กิจกรรมการดำเนินงานตลอดแผนงานวิจัยเป็นเวลา 3 ปี

รายละเอียดกิจกรรม เดือน
1

2

3

4

5

6

7

8

9

10

11

12

13

14

15

16

17

18

19

20

21

22

23

24

25

26

27

28

29

30

31

32

33

34

35

36

1. ประชุมคณะนักวิจัยเพื่อชี้แจงรายละเอียดของแต่ละโครงการวิจัย /                                  
2. ประชุมร่วมกับทีม project site manager เพื่อติดตามผลการดำเนินงาน / / / / / / / / / / / / / / / / / /
3. ประชุมคณะกรรมการบริหาร คณะนักวิจัยและทีมผู้ช่วยวิจัย   / /   / /   / /   / /   / /   / /
4. ประชุมร่วมกันระหว่างคณะกรรมการอำนวยการ คณะกรรมการบริหารและคณะนักวิจัย /         /           /         /  
5. จัดทำรายงานความก้าวหน้าของแต่ละโครงการวิจัยและแผนงานวิจัย     /     /     /     /     /     /
6. จัดประชุมวิชาการเพื่อแสดงผลสัมฤทธิ์ของโครการวิจัย           /           /           /
7. จัดทำรายงานสรุปผลการวิจัยของแต่ละโครงการวิจัยและแผนงานวิจัย           /           /           /
  1. เป้าหมายของผลผลิต (output) และตัวชี้วัด
ผลผลิต ตัวชี้วัด
เชิงปริมาณ เชิงคุณภาพ เวลา ต้นทุน(บาท)
โครงการวิจัยย่อยที่ 1

1. ฐานข้อมูลติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับในปลาและหอยในพื้นที่ที่มีการระบาด 84 อำเภอ   ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและเหนือของประเทศไทย

2. วิธีการกำจัดการติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับในโรงงานผลิตปลาส้มและปลาร้า

3.แอปพลิเคชันแนะนำวิธีการปรุงอาหารให้ปลอดภัยจากเชื้อพยาธิใบไม้ตับ

1 ชุดข้อมูล

2 กรรมวิธี

อย่างน้อย 1 แอปพลิเคชัน

ข้อมูลประกอบด้วยฐานข้อมูลติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับในปลาและหอยในพื้นที่ที่มีการระบาด 84 อำเภอ   ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและเหนือของประเทศไทย

กรรมวิธีการผลิตปลาส้มและปลาร้าปลอดเชื้อพยาธิใบไม้ตับ

แอปพลิเคชันที่มีเนื้อหาแนะนำวิธีการปรุงอาหารให้ปลอดภัยจากเชื้อพยาธิใบไม้ตับ

 

อย่างน้อย 2ปี

อย่างน้อย 1 ปี

อย่างน้อย 3 ปี

22,650,100
โครงการวิจัยย่อยที่ 2

1. ฐานข้อมูลการติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับชนิดOpisthorchisviverriniในสุนัขและแมวในหมู่บ้านที่เป็นพื้นที่ระบาดของประเทศไทย

 

2. การให้ยารักษาการติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับชนิดOpisthorchisviverriniในสุนัขและแมวในหมู่บ้านที่เdป็นพื้นที่ระบาดของประเทศไทย

 

1 ชุดข้อมูล

 

 

 

 

 

 

 

 

10,000 ตัว

 

ข้อมูลประกอบด้วยข้อมูลการติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับชนิดOpisthorchisviverriniในสุนัขและแมวในหมู่บ้านที่เป็นพื้นที่ระบาดของประเทศไทย

 

สุนัขและแมวในพื้นที่ระบาด10,000 ตัวได้รับการตรวจและให้ยารักษารักษาการติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับชนิดOpisthorchisviverrini

อย่างน้อย 2 ปี

3,900 ตัว (ปีที่ 1)

4,000 ตัว (ปีที่ 2)

3,100 ตัว (ปีที่ 3)

4,171,760
โครงการวิจัยย่อยที่ 3

1.ประชาชนในพื้นที่ระบาดได้รับการตรวจและรักษาโรคพยาธิใบไม้ตับ

2. ฐานข้อมูลการระบาดของพยาธิใบไม้ตับเชิงพื้นที่ในสถานการณ์ปัจจุบัน ในพื้นที่ระบาดของโรคพยาธิใบไม้ตับ

3.แผนผังการระบาดของพยาธิใบไม้ตับเชิงพื้นที่ในสถานการณ์ปัจจุบัน ในพื้นที่ระบาดของโรคพยาธิใบไม้ตับ

4.ฐานข้อมูลระบาดวิทยาของพยาธิใบไม้ตับระยะยาวใน  Isan cohort

5.ชุดผลิตภัณฑ์ต้นแบบในการตรวจการติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับในปัสสาวะ (Urine Strip Ov Detection kit)

 

76,000 ราย

1 ชุดข้อมูล

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

1 แผนผัง

1 ชุดข้อมูล

1 ชุดผลิตภัณฑ์

 

ประชาชนในพื้นที่ระบาดได้รับการตรวจการติดเชื้อโรคพยาธิใบไม้ตับโดยวิธีการตรวจอุจจาระวิธีใหม่ (Parasep stool kit) ผสมผสานกับการตรวจปัสสาวะและได้รับการักษาโดยยา Praziquentel

ข้อมูลประกอบด้วยข้อมูลการระบาดของพยาธิใบไม้ตับเชิงพื้นที่ในสถานการณ์ปัจจุบัน โดยหารูปแบบการกระจายอัตราชุกและความหนาแน่นของพยาธิใบไม้ตับจากการตรวจอุจจาระวิธีใหม่ (Parasep stool kit)ผสมผสานกับการตรวจปัสสาวะในพื้นที่ระบาดของโรคพยาธิใบไม้ตับ

เป็นแผนผังในระบบ GIS ที่แสดงการระบาดของพยาธิใบไม้ตับเชิงพื้นที่ในสถานการณ์ปัจจุบัน ในพื้นที่ระบาดของโรคพยาธิใบไม้ตับ

ข้อมูลประกอบด้วยข้อมูลทางระบาดวิทยาของพยาธิใบไม้ตับระยะยาวโดยเก็บในซอฟแวร์  Isan cohort ที่พัฒนาในโครงการย่อยที่ 5

เป็นชุดผลิตภัณฑ์ต้นแบบในการตรวจการติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับในปัสสาวะในรูปแบบ Urine Strip

 

อย่างน้อย 2 ปี

อย่างน้อย 2ปี

อย่างน้อย 2 ปี

อย่างน้อย 3 ปี

อย่างน้อย 3 ปี

 

43,310,232
โครงการวิจัยย่อยที่ 4

1.  ฐานข้อมูลการจัดการสิ่งปฏิกูลของชุมชนเป้าหมาย

2.วิธีการกำจัดสิ่งปฏิกูลที่สามารถกำจัดการติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับ

3. ชุมชนต้นแบบในการการจัดระบบสุขาภิบาลเพื่อกำจัดการติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับ

 

1 ฐานข้อมูล

อย่างน้อย 1 วิธีการ

1 ชุมชน

เป็นฐานข้อมูลที่ประกอบด้วยข้อมูลการสภาพปัจจุบันในการจัดการสิ่งปฏิกูลของชุมชนเป้าหมาย

วิธีการกำจัดสิ่งปฏิกูลโดยเฉพาะอุจจาระที่มาจากการสูบส้วมในชุมชนที่สามารถกำจัดการติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับ

เป็นชุมชนต้นแบบที่มีวิธีการกำจัดสิ่งปฏิกูลโดยเฉพาะอุจจาระที่มาจากการสูบส้วมในชุมชนที่สามารถกำจัดการติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับ

 

อย่างน้อย 1 ปี

อย่างน้อย 2 ปี

อย่างน้อย 3 ปี

 

10,000,000
โครงการวิจัยย่อยที่ 5

1. โปรแกรมคอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์ ชื่อ Isan Cohort สำหรับการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา (epidemiological surveillance) สำหรับพฤติกรรมเสี่ยง พยาธิใบไม้ตับ และมะเร็งท่อน้ำดี ติดตามผลได้ในระยะยาว

 

 

1 โปรแกรม

 

โปรแกรมคอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์ ชื่อ Isan Cohort สำหรับการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา (epidemiological surveillance) สำหรับพฤติกรรมเสี่ยง พยาธิใบไม้ตับ และมะเร็งท่อน้ำดี โดยใช้ประชาชนเป็นศูนย์กลาง และไม่มีพรมแดนของเขตผู้ให้บริการ โดยให้สามารถใช้งานบนอินเตอร์เน็ต แบบ real time และสามารถติดตามผลได้ในระยะยาว

 

อย่างน้อย 1 ปี

34,694,000
โครงการวิจัยย่อยที่ 6

1.หลักสูตรเกี่ยวกับโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดีไปใช้ในโรงเรียน

 

 

 

 

 

2. แอปพลิเคชันให้ความรู้ในเรื่องของโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดีไปใช้ในประชาชนทั่วไป

 

อย่างน้อย 1 หลักสูตร

อย่างน้อย 5 แอปพลิเคชัน

เป็นหลักสูตรที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดีไปใช้ในโรงเรียนโดยมีสื่อการสอนที่ทันสมัยในรูปแบบของ e-learning หรือ AR book เป็นต้น

แอปพลิเคชันให้ความรู้ในเรื่องของโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดีไปใช้ในประชาชนทั่วไปในรูปแบบที่ทันสมัยเหมาะกับรูปแบบการดำเนินชีวิตที่ทันสมัย

 

อย่างน้อย 2 ปี

อย่างน้อย 1 ปี

 

5,000,000
โครงการวิจัยย่อยที่ 7

1. การลงทะเบียนและตรวจตัดกรองโรคมะเร็งท่อน้ำดีในประชาชนด้วยวิธีอัลตร้าซาวด์

 

 

2.ผู้ที่สงสัยว่าเป็นมะเร็งท่อน้ำดีโดยการตรวจอัลตร้าซาวด์ได้รับการตรวจยืนยันและรับการรักษา

100,000 คนต่อปี

อย่างน้อย 600 คนต่อปี

 

1. ประชากรกลุ่มเสี่ยงในพื้นที่ระบาดของพยาธิใบไม้ตับได้รับการลงทะเบียนและตรวจตัดกรองโรคมะเร็งท่อน้ำดีด้วยวิธีอัลตร้าซาวด์

2.ผู้ที่สงสัยว่าเป็นมะเร็งท่อน้ำดีโดยการตรวจอัลตร้าซาวด์ได้รับการตรวจยืนยันโดยการตรวจ CT/MRI และรับการรักษาในโรงพยาบาลเครือข่ายตามสิทธิ์การรักษาของแต่ละคน

 

อย่างน้อย 1 ปีและดำเนินการต่อเนื่องจนครบ 3 ปี

อย่างน้อย 1 ปีและดำเนินการต่อเนื่องจนครบ 3 ปี

69,582,000
โครงการวิจัยย่อยที่ 8

1.ผู้ป่วยมะเร็งท่อน้ำดีสามารถเข้าถึงการรักษาด้วยยาเคมีบำบัด

2.ข้อมูลระยะเวลาการรอดชีวิตโดยรวม (median overall survival time) ในผู้ป่วยมะเร็งท่อน้ำดีที่ได้รับการรักษาเสริมด้วยเคมีบำบัด (adjuvant chemotherapy)

3.ข้อมูลระยะเวลาการปลอดโรค (disease-free survival rate) ในผู้ป่วยมะเร็งท่อน้ำดีที่ได้รับการรักษาเสริมด้วยเคมีบำบัด (adjuvant chemotherapy)

400 คน

 

 

 

1 ชุดข้อมูล

1 ชุดข้อมูล

ผู้ป่วยมะเร็งท่อน้ำดีได้รับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัดหลังการผ่าตัด

เป็นชุดข้อมูลที่ประกอบด้วยข้อมูลของระยะเวลาการรอดชีวิตโดยรวม (median overall survival time) ในผู้ป่วยมะเร็งท่อน้ำดีที่ได้รับการรักษาเสริมด้วยเคมีบำบัด (adjuvant chemotherapy) เปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม

เป็นชุดข้อมูลที่ประกอบด้วยข้อมูลของระยะเวลาการปลอดโรค (disease-free survival rate) ในผู้ป่วยมะเร็งท่อน้ำดีที่ได้รับการรักษาเสริมด้วยเคมีบำบัด (adjuvant chemotherapy) เปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม

อย่างน้อย 3 ปี

อย่างน้อย 3 ปี

อย่างน้อย 3 ปี

36,937,240
  1. 9. เป้าหมายของผลลัพธ์ (Outcome) และตัวชี้วัด
ผลลัพธ์ ตัวชี้วัด
  เชิงปริมาณ เชิงคุณภาพ ระยะเวลา งบประมาณ (บาท)
โครงการวิจัยย่อยที่ 1

1. ฐานข้อมูลติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับในปลาและหอยในพื้นที่ที่มีการระบาด 84 อำเภอ   ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและเหนือของประเทศไทย

2. วิธีการกำจัดการติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับในโรงงานผลิตปลาส้มและปลาร้า

3.แอปพลิเคชันแนะนำวิธีการปรุงอาหารให้ปลอดภัยจากเชื้อพยาธิใบไม้ตับ

1 ชุดข้อมูล

2 กรรมวิธี

อย่างน้อย 1 แอปพลิเคชัน

มีการนำข้อมูลไปใช้ในการวางแผน

จัดการตัดวงจรชีวิตของพยาธิใบไม้ตับ

มีการประกาศใช้มาตรฐานวิธีการผลิตอาหารที่ปลอดจาการติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับในโรงงานผลิตปลาส้มและปลาร้ารวมทั้งมีการตรวจสอบและรับรองคุณภาพโดย อย.

มีการติดแอปพลิเคชันแนะนำวิธีการปรุงอาหารให้ปลอดภัยจากเชื้อพยาธิใบไม้ตับในผลิตภัณฑ์อาหารที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อเพื่อห้ประชาชนได้ใช้ประโยชน์อย่างแพร่หลาย

 

อย่างน้อย 5ปี

อย่างน้อย 5ปี

อย่างน้อย 5ปี

 

22,650,100
โครงการวิจัยย่อยที่ 2

1. ฐานข้อมูลการติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับชนิดOpisthorchisviverriniในสุนัขและแมวในหมู่บ้านที่เป็นพื้นที่ระบาดของประเทศไทย

 

 

 

 

 

2. การให้ยารักษาการติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับชนิดOpisthorchisviverriniในสุนัขและแมวในหมู่บ้านที่เป็นพื้นที่ระบาดของประเทศไทย

 

 

1 ชุดข้อมูล

 

 

 

 

 

 

 

 

10,000 ตัว

 

มีการนำข้อมูลไปใช้ในการวางแผนจัดการตัดวงจรชีวิตของพยาธิใบไม้ตับในสัตว์รังโรครวมทั้งการกำหนดให้มีแผนปฏิบัติงานประจำของกรมปศุสัตว์ร่วมกับการฉีดวัคซีนประจำปี

กำจัดปัญหาการติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับในสัตว์รังโรคซึ่งถือเป็นการตัดวงจรชีวิตพยาธิใบไม้ตับ

 

อย่างน้อย 5 ปี

 

 

 

 

 

 

 

 

 

อย่างน้อย 5 ปี

 

4,171,760
โครงการวิจัยย่อยที่ 3

1.ประชาชนในพื้นที่ระบาดได้รับการตรวจและรักษาโรคพยาธิใบไม้ตับ

2. ฐานข้อมูลการระบาดของพยาธิใบไม้ตับเชิงพื้นที่ในสถานการณ์ปัจจุบัน ในพื้นที่ระบาดของโรคพยาธิใบไม้ตับ

3.แผนผังการระบาดของพยาธิใบไม้ตับเชิงพื้นที่ในสถานการณ์ปัจจุบัน ในพื้นที่ระบาดของโรคพยาธิใบไม้ตับ

4.ฐานข้อมูลระบาดวิทยาของพยาธิใบไม้ตับระยะยาวใน  Isan cohort

5.ชุดผลิตภัณฑ์ต้นแบบในการตรวจการติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับในปัสสาวะ (Urine Strip Ov Detection kit)

 

76,000 ราย

1 ชุดข้อมูล

 

 

 

 

 

 

1 แผนผัง

1 ชุดข้อมูล

1 ชุดผลิตภัณฑ์

 

 

ลดอัตราการติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับของประชาชนในพื้นที่ระบาด

นำข้อมูลไปใช้วางแผนยุทธศาสตร์ในการแก้ไขปัญหาการติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับในประชาชน

นำข้อมูลไปใช้วางแผนยุทธศาสตร์ในการแก้ไขปัญหาการติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับในประชาชน

นำข้อมูลไปใช้วางแผนยุทธศาสตร์ในการแก้ไขปัญหาการติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับในประชาชน

กระทรวงสาธารณสุขนำชุด (Urine Strip Ov Detection kit) ไปใช้ในการตรวจวินิจฉัยการติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับในประชาชน รวมไปถึงการนำไปสู่การผลิตเป็นอุตสาหกรรมเพื่อให้มีการนำไปใช้ในพื้นที่ที่มีการระบาดของโรคพยาธิใบไม้ตับโดยเฉพาะในในกลุ่มประเทศลุ่มแม่น้ำโขง รวมไปถึงเวียดนามและจีนตอนใต้

อย่างน้อย 3 ปี

อย่างน้อย 5 ปี

อย่างน้อย 5 ปี

อย่างน้อย 5 ปี

อย่างน้อย 5 ปี

43,310,232
โครงการวิจัยย่อยที่ 4

1.ฐานข้อมูลการจัดการสิ่งปฏิกูลของชุมชนเป้าหมาย

2.วิธีการกำจัดสิ่งปฏิกูลที่สามารถกำจัดการติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับ

3. ชุมชนต้นแบบในการการจัดระบบสุขาภิบาลเพื่อกำจัดการติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับ

1 ฐานข้อมูล

อย่างน้อย 1 วิธีการ

1 ชุมชน

นำข้อมูลไปใช้วางแผนยุทธศาสตร์เพื่อกำจัดการปนเปื้อนของพยาธิใบไม้ตับโดยการจัดการสิ่งปฏิกูลของชุมชนเป้าหมาย

หน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข นำวิธีกำจัดสิ่งปฏิกูลที่สามารถกำจัดการติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับไปใช้

การนำเอาต้นแบบของชุมชนการจัดระบบสุขาภิบาลเพื่อกำจัดการติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับไปประยุกต์ใช้ในพื้นที่อื่นๆ

 

อย่างน้อย 5 ปี

อย่างน้อย 5 ปี

 

 

อย่างน้อย 5 ปี

10,000,000
โครงการวิจัยย่อยที่ 5

1. โปรแกรมคอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์ ชื่อ Isan Cohort สำหรับการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา (epidemiological surveillance) สำหรับพฤติกรรมเสี่ยง พยาธิใบไม้ตับ และมะเร็งท่อน้ำดี ติดตามผลได้ในระยะยาว

 

 

1 โปรแกรม

กระทรวงสาธารณสุขนำโปรแกรมคอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์ ชื่อ Isan Cohort สำหรับการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา (epidemiological surveillance) สำหรับพฤติกรรมเสี่ยง พยาธิใบไม้ตับ และมะเร็งท่อน้ำดีไปใช้

 

อย่างน้อย 5 ปี

34,694,000
โครงการวิจัยย่อยที่ 6

1.หลักสูตรเกี่ยวกับโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดีไปใช้ในโรงเรียน

 

2. แอปพลิเคชันให้ความรู้ในเรื่องของโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดีไปใช้ในประชาชนทั่วไป

 

อย่างน้อย 1 หลักสูตร

อย่างน้อย 5 แอปพลิเคชัน

กระทรวงศึกษาธิการนำเอาหลักสูตรเกี่ยวกับโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดีไปใช้ในโรงเรียน

ประชาชนทั่วไปนำเอาแอปพลิเคชันให้ความรู้ในเรื่องของโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดีไปใช้

 

อย่างน้อย 5 ปี

5,000,000
โครงการวิจัยย่อยที่ 7

1. การลงทะเบียนและตรวจตัดกรองโรคมะเร็งท่อน้ำดีในประชาชนด้วยวิธีอัลตร้าซาวด์

 

 

2.ผู้ที่สงสัยว่าเป็นมะเร็งท่อน้ำดีโดยการตรวจอัลตร้าซาวด์ได้รับการตรวจยืนยันและรับการรักษา

100,000 คนต่อปี

อย่างน้อย 600 คนต่อปี

ประชาชนโดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยงได้เข้าสู่การบริการตรวจคัดกรอง การตรวจวินิจฉัยและรักษาโรคมะเร็งท่อน้ำดีและนำไปสู่การประกาศให้มีนโยบายให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งอัลตร้าซาวด์โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายและการกำหนด service plan ในการรักษาโรคมะเร็งท่อน้ำดี

 

อย่างน้อย 5 ปี

69,582,000

 

โครงการวิจัยย่อยที่ 8

1. ผู้ป่วยมะเร็งท่อน้ำดีสามารถเข้าถึงการรักษาด้วยยาเคมีบำบัด

2.ข้อมูลระยะเวลาการรอดชีวิตโดยรวม (median overall survival time) ในผู้ป่วยมะเร็งท่อน้ำดีที่ได้รับการรักษาเสริมด้วยเคมีบำบัด (adjuvant chemotherapy)

3.ข้อมูลระยะเวลาการปลอดโรค (disease-free survival rate) ในผู้ป่วยมะเร็งท่อน้ำดีที่ได้รับการรักษาเสริมด้วยเคมีบำบัด (adjuvant chemotherapy)

400 คน

 

 

 

1 ชุดข้อมูล

1 ชุดข้อมูล

ผู้ป่วยมะเร็งท่อน้ำดีสามารถเข้าถึงการรักษาด้วยยาเคมีบำบัดและมีการกำหนดให้ยาเคมีบำบัดอยู่ในบัญชียากลางที่ใช้ในการรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็งท่อน้ำดี

 

อย่างน้อย 5 ปี

36,937,240

 


10. ผลกระทบ (Impact)

1. เกิดการปลี่ยนแปลงการทำงานในการแก้ไขปัญหาโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี โดยเป็นการทำงานแบบครบวงจรและบูรณาการโดยการประสานความร่วมมือกับทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งในภาครัฐและเอกชน

2. ได้นวัตกรรมในการจัดระบบสุขาภิบาลเพื่อให้ประชาชนปลอดภัยจากโรคพยาธิใบไม้ตับ

3. ได้นวัตกรรมการเรียนการสอนในกลุ่มนักเรียนนักศึกษา รวมไปถึงการให้ความรู้ในประชาชนทั่วไป เพื่อให้ปลอดภัยจากโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี

4. ได้แนวปฏิบัติที่เป็นมาตรฐาน (Clinical Practice Guideline; CPG)ในการคัดกรอง เฝ้าระวังและรักษาโรคพยาธิใบไม้ตับในประชาชน

5. ได้นวัตกรรมใหม่ในการตรวจวินิจฉัยโรคพยาธิใบไม้ตับในปัสสาวะในรูปแบบ Urine strip ซึ่งถือเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญและจะเป็นประโยชน์อย่างมากในการคัดกรอง เฝ้าระวังและการรักษารวมถึงการกำจัดพยาธิใบไม้ตับให้หมดไป

6. ได้แนวปฏิบัติที่เป็นมาตรฐาน (Clinical Practice Guideline; CPG) และนำไปสู่การปฏิบัติเพื่อการเฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยง ตรวจคัดกรอง ตรวจวินิจฉัย และบริหารจัดการผู้ป่วยมะเร็งท่อน้ำดีร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพในภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และได้เครือข่ายในการรักษาผู้ป่วยมะเร็งท่อน้ำดีทุกระยะซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยได้เข้าสู่การรักษาอย่างเท่าเทียมกันโดยเฉพาะได้ผู้ป่วยระยะแรก (early stage disease) เพิ่มขึ้นซึ่งการรักษาหวังผลให้หายขาด (curative treatment) และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้

7. ได้คอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์และฐานข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) ชื่อ Isan Cohort สำหรับการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา (epidemiological surveillance) สำหรับพฤติกรรมเสี่ยง พยาธิใบไม้ตับ และมะเร็งท่อน้ำดี สำหรับประชาชนทุกคน โดยใช้ประชาชนเป็นศูนย์กลาง และไม่มีพรมแดนของเขตผู้ให้บริการ โดยให้สามารถใช้งานบนอินเตอร์เน็ต แบบ real time และสามารถติดตามผลได้ในระยะยาว

8.ทำให้ประชาชนเข้าถึงการบริการที่เกี่ยวข้องกับพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี ทั้งในระดับปฐมภูมิ ทุติยภูมิ และตติยภูมิ อย่างทันเวลา เท่าเทียม มีคุณภาพ และสมศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์

11. งบประมาณในการดำเนินกิจกรรม

11.1 ค่าใช้จ่ายในส่วนของการบริหารจัดการโครงการวิจัย

งบประมาณตลอดการวิจัย จำนวนเงิน (บาท)
งบประมาณปีที่ 1 5,000,000
งบประมาณปีที่ 2 5,000,000
งบประมาณปีที่ 3 5,000,000
รวม 15,000,00011. 2 ค่าใช้จ่ายในส่วนการสนับสนุนการวิจัย
งบประมาณตลอดการวิจัย จำนวนเงิน (บาท) Institution fee (5%)
งบประมาณปีที่ 1 45,000,000 2,500,000
งบประมาณปีที่ 2 45,000,000 2,500,000
งบประมาณปีที่ 3 45,000,000 2,500,000
รวม 135,000,000 7,500,000
รวมทั้งหมด 142,500,000

ตารางแสดงงบประมาณค่าบริหารจัดการโครงการและส่วนสนับสนุนการวิจัยแยกตามโครงการวิจัย

แผนงานวิจัย งบประมาณ
ปีที่ 1 ปีที่ 2 ปีที่ 3 รวม หมายเหตุ
1. ค่าการบริหารจัดการโครงการวิจัย(10%) 5,000,000 5,000,000 5,000,000 15,000,000
2. Institution fee (5%) 2,500,000 2,500,000 2,500,000 7,500,000
2. โครงการย่อยที่ 1 7,592,100 7,544,000 7,514,000 22,650,100 ใช้งบประมาณในการดำเนินงานปีที่ 1 จากโครงการ CASCAP มหาวิทยาลัยขอนแก่น
3. โครงการย่อยที่ 2 1,443,000 1,417,660 1,311,100 4,171,760 ใช้งบประมาณในการดำเนินงานปีที่ 1 จากโครงการ CASCAP มหาวิทยาลัยขอนแก่น
4. โครงการย่อยที่ 3 28,310,232 7,500,000 7,500,000 43,310,232 ใช้งบประมาณในการดำเนินงานปีที่ 1 จากโครงการ CASCAP มหาวิทยาลัยขอนแก่น
5. โครงการย่อยที่ 4 1,000,000 4,500,000 4,500,000 10,000,000
6. โครงการย่อยที่ 5 27,918,000 3,388,000 3,388,000 34,694,000
7. โครงการย่อยที่ 6 0     3,000,000     2,000,000 5,000,0000
8. โครงการย่อยที่ 7 15,582,000 27,000,000 27,000,000 69,582,000 ใช้งบประมาณในการดำเนินงานในปีที่ 2 และ 3 จากโครงการ CASCAP มหาวิทยาลัยขอนแก่น
9. โครงการย่อยที่ 8 500,000 17,650,340 18,786,900 36,937,240
รวมงบประมาณที่ขอจาก วช. 52,500,000 52,500,000 52,500,000 157,500,000
รวมงบประมาณที่ใช้จากโครงการ CASCAP มหาวิทยาลัยขอนแก่น 37,345,332 27,000,000 27,000,000 91,345,332
งบประมาณทั้งหมด 89,845,332 79,500,000 79,500,000 248,845,332

หมายเหตุ ส่วนที่ระบายสีเหลืองคืองบประมาณที่ขอการสนับสนุนจากสภาวิจัยแห่งชาติในโครงการท้าทายไทย

12. ผลสำเร็จและความคุ้มค่าของงาน

รายละเอียดความสำเร็จ ประเภทความสำเร็จของงาน ตัวชี้วัดความสำเร็จ ความเชื่อมโยงกับพี่ที่ผ่านมา (กรณีที่เป็นโครงการต่อเนื่อง)
ปีที่ 1

1.กรรมวิธีการกำจัดการติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับในโรงงานผลิตปลาส้มและปลาร้า

2. การตรวจและการให้ยารักษาการติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับชนิดOpisthorchisviverriniในสุนัขและแมวในหมู่บ้านที่เป็นพื้นที่ระบาดของประเทศไทย

3. ประชาชนในพื้นที่ระบาดได้รับการตรวจและรักษาโรคพยาธิใบไม้ตับ

4. 1. ฐานข้อมูลการจัดการสิ่งปฏิกูลของชุมชนเป้าหมาย

4. โปรแกรมคอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์ ชื่อ Isan Cohort สำหรับการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา (epidemiological surveillance) สำหรับพฤติกรรมเสี่ยง พยาธิใบไม้ตับ และมะเร็งท่อน้ำดี ติดตามผลได้ในระยะยาว

5. แอปพลิเคชันให้ความรู้ในเรื่องของโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดีไปใช้ในประชาชนทั่วไป

6. การลงทะเบียนและตรวจตัดกรองโรคมะเร็งท่อน้ำดีในประชาชนด้วยวิธีอัลตร้าซาวด์

7. ผู้ที่สงสัยว่าเป็นมะเร็งท่อน้ำดีโดยการตรวจอัลตร้าซาวด์ได้รับการตรวจยืนยันและรับการรักษา

ผลสำเร็จตามเป้าประสงค์ (Goal Result)

ผลสำเร็จตามเป้าประสงค์ (Goal Result)

ผลสำเร็จตามเป้าประสงค์ (Goal Result)

ผลสำเร็จตามเป้าประสงค์ (Goal Result)

ผลสำเร็จตามเป้าประสงค์ (Goal Result)

ผลสำเร็จตามเป้าประสงค์ (Goal Result)

ผลสำเร็จตามเป้าประสงค์ (Goal Result)

ผลสำเร็จตามเป้าประสงค์ (Goal Result)

อย่างน้อย 2 กรรมวิธี

3,900 ตัว

76,000 ราย

1 ฐานข้อมูล

1 โปรแกรม

อย่างน้อย 5 แอปพลิเคชัน

135,000 คน

อย่างน้อย 600 คน

เริ่มต้นโครงการในปีแรก

เริ่มต้นโครงการในปีแรก

เริ่มต้นโครงการในปีแรก

เริ่มต้นโครงการในปีแรก

เริ่มต้นโครงการในปีแรก

เริ่มต้นโครงการในปีแรก

เริ่มต้นโครงการในปีแรก

ปีที่ 2

1. ฐานข้อมูลติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับในปลาและหอยในพื้นที่ที่มีการระบาด 84 อำเภอ   ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและเหนือของประเทศไทย

2. การตรวจและการให้ยารักษาการติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับชนิดOpisthorchisviverriniในสุนัขและแมวในหมู่บ้านที่เป็นพื้นที่ระบาดของประเทศไทย

3. ฐานข้อมูลการติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับชนิดOpisthorchisviverriniในสุนัขและแมวในหมู่บ้านที่เป็นพื้นที่ระบาดของประเทศไทย

4. ฐานข้อมูลการระบาดของพยาธิใบไม้ตับเชิงพื้นที่ในสถานการณ์ปัจจุบัน ในพื้นที่ระบาดของโรคพยาธิใบไม้ตับ

5. แผนผังการระบาดของพยาธิใบไม้ตับเชิงพื้นที่ในสถานการณ์ปัจจุบัน ในพื้นที่ระบาดของโรคพยาธิใบไม้ตับ

6. กรรมวิธีการกำจัดสิ่งปฏิกูลที่สามารถกำจัดการติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับ

7. หลักสูตรเกี่ยวกับโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดีไปใช้ในโรงเรียน

8. การลงทะเบียนและตรวจตัดกรองโรคมะเร็งท่อน้ำดีในประชาชนด้วยวิธีอัลตร้าซาวด์

9. ผู้ที่สงสัยว่าเป็นมะเร็งท่อน้ำดีโดยการตรวจอัลตร้าซาวด์ได้รับการตรวจยืนยัน

ผลสำเร็จตามเป้าประสงค์ (Goal Result)

ผลสำเร็จตามเป้าประสงค์ (Goal Result)

ผลสำเร็จตามเป้าประสงค์ (Goal Result)

ผลสำเร็จตามเป้าประสงค์ (Goal Result)

ผลสำเร็จตามเป้าประสงค์ (Goal Result)

ผลสำเร็จตามเป้าประสงค์ (Goal Result)

ผลสำเร็จตามเป้าประสงค์ (Goal Result)

ผลสำเร็จตามเป้าประสงค์ (Goal Result)

ผลสำเร็จตามเป้าประสงค์ (Goal Result)

1 ฐานข้อมูล

4,000 ตัว

1 ฐานข้อมูล

1 ฐานข้อมูล

1 แผนผัง

อย่างน้อย 1 กรรมวิธี

อย่างน้อย 1 หลักสูตร

100,000 คน

อย่างน้อย 600 คน

เริ่มต้นโครงการในปีแรก

เริ่มต้นโครงการในปีแรก

เริ่มต้นโครงการในปีแรก

เริ่มต้นโครงการในปีแรก

เริ่มต้นโครงการในปีแรก

เริ่มต้นโครงการในปีแรก

เริ่มต้นโครงการในปีแรก

เริ่มต้นโครงการในปีแรก

เริ่มต้นโครงการในปีแรก

ปีที่ 3

1. แอปพลิเคชันแนะนำวิธีการปรุงอาหารให้ปลอดภัยจากเชื้อพยาธิใบไม้ตับ

2. การตรวจและการให้ยารักษาการติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับชนิดOpisthorchisviverriniในสุนัขและแมวในหมู่บ้านที่เป็นพื้นที่ระบาดของประเทศไทย

3.ฐานข้อมูลระบาดวิทยาของพยาธิใบไม้ตับระยะยาวใน  Isan cohort

4. ชุดผลิตภัณฑ์ต้นแบบในการตรวจการติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับในปัสสาวะ (Urine Strip Ov Detection kit)

5. ชุมชนต้นแบบในการการจัดระบบสุขาภิบาลเพื่อกำจัดการติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับ

6. การลงทะเบียนและตรวจตัดกรองโรคมะเร็งท่อน้ำดีในประชาชนด้วยวิธีอัลตร้าซาวด์

7. ผู้ที่สงสัยว่าเป็นมะเร็งท่อน้ำดีโดยการตรวจอัลตร้าซาวด์ได้รับการตรวจยืนยัน

8.ผู้ป่วยมะเร็งท่อน้ำดีสามารถเข้าถึงการรักษาด้วยยาเคมีบำบัด

9.ข้อมูลระยะเวลาการรอดชีวิตโดยรวม (median overall survival time) ในผู้ป่วยมะเร็งท่อน้ำดีที่ได้รับการรักษาเสริมด้วยเคมีบำบัด (adjuvant chemotherapy)

10.ข้อมูลระยะเวลาการปลอดโรค (disease-free survival rate) ในผู้ป่วยมะเร็งท่อน้ำดีที่ได้รับการรักษาเสริมด้วยเคมีบำบัด (adjuvant chemotherapy)

ผลสำเร็จตามเป้าประสงค์ (Goal Result)

ผลสำเร็จตามเป้าประสงค์ (Goal Result)

ผลสำเร็จตามเป้าประสงค์ (Goal Result)

ผลสำเร็จตามเป้าประสงค์ (Goal Result)

ผลสำเร็จตามเป้าประสงค์ (Goal Result)

ผลสำเร็จตามเป้าประสงค์ (Goal Result)

ผลสำเร็จตามเป้าประสงค์ (Goal Result)

ผลสำเร็จตามเป้าประสงค์ (Goal Result)

ผลสำเร็จตามเป้าประสงค์ (Goal Result)

ผลสำเร็จตามเป้าประสงค์ (Goal Result)

อย่างน้อย 1 แอปพลิเคชัน

3,100 ตัว

1 ฐานข้อมูล

1 ชุดผลิตภัณฑ์

1 ชุมชน

100,000 คน

อย่างน้อย 600 คน

400 คน

1 ชุดข้อมูล

1 ชุดข้อมูล

เริ่มต้นโครงการในปีแรก

เริ่มต้นโครงการในปีแรก

เริ่มต้นโครงการในปีแรก

เริ่มต้นโครงการในปีแรก

เริ่มต้นโครงการในปีแรก

เริ่มต้นโครงการในปีแรก

เริ่มต้นโครงการในปีแรก

13. แผนบริหารความเสี่ยง

ความเสี่ยงที่จะทำให้การวิจัยไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ แนวทางการบริหารจัดการความเสี่ยง
1.       เนื่องจากโครงการนี้เป็นโครงการใหญ่และต้องใช้งบประมาณในการดำเนินงานสูงมาก งบประมาณที่ได้รับการจัดสรรจากสภาวิจัยอย่างเดียวคงไม่เพียงพอที่จะดำเนินงานให้ประสบผลสำเร็จดังเป้าหมาย 1.       หาแหล่งทุนอื่นๆเพื่อสนับสนุนการทำงาน ซึ่งแหล่งทุนอื่นๆจะมาจากทั้งภาครัฐและเอกชน ทั้งที่เป็นแหล่งทุนภายในและภายนอกประเทศเพื่อเข้ามาเป็นพันธมิตรในการดำเนินโครงการ เช่น ทุนโครงการแก้ไขปัญหาโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดีภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (CASCAP) มหาวิทยาลัยขอนแก่น มูลนิธิมะเร็งท่อน้ำดี มูลนิธิสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ และ Gold foundation ประเทศสิงคโปร์ เป็นต้น
2.       ความไม่แน่นอนของนโยบายของกระทรวงที่เกี่ยวข้องซึ่งอาจทำให้การดำเนินโครงการไม่ได้รับความร่วมมืออย่างต่อเนื่อง 2.ใช้การกลไกจากภาคเอกชนในรูปของสมัชชาสุขภาพแห่งชาติเพื่อผลักดันให้การทำงานของภาครัฐมีความต่อเนื่อง

14. ประวัติผู้บริหารจัดการโครงการวิจัย (Director)

14.1 ประวัติการทำงานโดยละเอียด

14.1.1 ชื่อ-สกุล (ภาษาไทย)          นายณรงค์ขันตีแก้ว

(ภาษาอังกฤษ)           Mr. NarongKhuntikeo

14.2.2 หมายเลขบัตรประจำตัวประชาชน   3 – 4099 – 00351- 65 -8

14.3.3 ตำแหน่งปัจจุบัน รองศาสตราจารย์ระดับ 9

14.4.4 หน่วยงานที่อยู่ที่สามารถติดต่อได้สะดวก

ภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์  มหาวิทยาลัยขอนแก่นอำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น  40002โทรศัพท์/โทรสาร  043-348393  E-mail:  nkhuntikeo@yahoo.com

14.5.5 ประวัติการศึกษา

ปีที่จบ

การศึกษา

ระดับการศึกษา ปริญญา สาขาวิชา สถาบัน ประเทศ
2527 ตรี พบ. แพทยศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น ไทย
2528 โท วท.บ. ศัลยศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยมหิดล ไทย
2531 เอก วว. ศัลยศาสตร์ทั่วไป มหาวิทยาลัยขอนแก่น ไทย
2537 Fellowship Training Certificate HepatoPancreatic Biliary Surgery and Liver Transplantation Princess Alexandra Hospital เมืองเมลเบิร์น ออสเตรเลีย

 

14.6.6 ประวัติการทำงาน

2557-ปัจจุบัน หัวหน้าโครงการแก้ไขปัญหาโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดีในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
2555-ปัจจุบัน รองประธานมูลนิธิมะเร็งท่อน้ำดี
2554-2558

2558-ปัจจุบัน

กรรมการบริหารศูนย์วิจัยพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี

ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี

มหาวิทยาลัยขอนแก่น

มหาวิทยาลัยขอนแก่น

2556-ปัจจุบัน รองศาสตราจารย์ ภาควิชาศัลยศาสตร์

คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

2537-2556 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภาควิชาศัลยศาสตร์

คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

2544-2548 รองคณบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
2541-2544 ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
2536-2537 ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
2531 อาจารย์ ภาควิชาศัลยศาสตร์

คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

 

 

14.7.7 สาขาวิชาที่มีความชำนาญพิเศษ

  1. ศัลยศาสตร์ทางเดินอาหารและท่อน้ำดี

14.7.8 ผลงานตีพิมพ์ (1-64)

1. Aukkanimart, R., T. Boonmars, A. Juasook, P. Sriraj, S. Boonjaraspinyo, Z. Wu, P. Laummuanwai, C. Pairojkul, N. Khuntikeo, and P. Rattanasuwan. 2015. Altered Expression of Oxidative Metabolism Related Genes in Cholangiocarcinomas. Asian Pacific journal of cancer prevention : APJCP 16:5875-5881.

2. Bhudhisawasdi, V., C. Talabnin, A. Pugkhem, N. Khuntikeo, O. T. Seow, S. Chur-in, C. Pairojkul, and S. Wongkham. 2012. Evaluation of postoperative adjuvant chemotherapy for intrahepatic cholangiocarcinoma patients undergoing R1 and R2 resections. Asian Pacific journal of cancer prevention : APJCP 13 Suppl:169-174.

3. Boonjaraspinyo, S., T. Boonmars, Z. Wu, W. Loilome, P. Sithithaworn, I. Nagano, S. Pinlaor, P. Yongvanit, P. S. Nielsen, C. Pairojkul, and N. Khuntikeo. 2012. Platelet-derived growth factor may be a potential diagnostic and prognostic marker for cholangiocarcinoma. Tumour biology : the journal of the International Society for Oncodevelopmental Biology and Medicine 33:1785-1802.

4. Boonyanugomol, W., C. Chomvarin, B. Sripa, V. Bhudhisawasdi, N. Khuntikeo, C. Hahnvajanawong, and A. Chamsuwan. 2012. Helicobacter pylori in Thai patients with cholangiocarcinoma and its association with biliary inflammation and proliferation. HPB : the official journal of the International Hepato Pancreato Biliary Association 14:177-184.

5. Chamadol, N., V. Laopaiboon, J. Kaewradee, N. Khuntikeo, V. Bhudhisawasdi, and C. Pairojkul. 2010. Comparison of computed tomographic finding of the intraductal and periductal cholangiocarcinoma. Journal of the Medical Association of Thailand = Chotmaihet thangphaet 93:481-488.

6. Chamadol, N., V. Laopaiboon, N. Ruangwattanapaisarn, N. Khuntikeo, and C. Pairojkul. 2011. Computed tomographic appearances of colorectal liver metastases. Journal of the Medical Association of Thailand = Chotmaihet thangphaet 94:826-832.

7. Chamadol, N., C. Pairojkul, N. Khuntikeo, V. Laopaiboon, W. Loilome, P. Sithithaworn, and P. Yongvanit. 2014. Histological confirmation of periductal fibrosis from ultrasound diagnosis in cholangiocarcinoma patients. Journal of hepato-biliary-pancreatic sciences 21:316-322.

8. Chan-On, W., M. L. Nairismagi, C. K. Ong, W. K. Lim, S. Dima, C. Pairojkul, K. H. Lim, J. R. McPherson, I. Cutcutache, H. L. Heng, L. Ooi, A. Chung, P. Chow, P. C. Cheow, S. Y. Lee, S. P. Choo, I. B. Tan, D. Duda, A. Nastase, S. S. Myint, B. H. Wong, A. Gan, V. Rajasegaran, C. C. Ng, S. Nagarajan, A. Jusakul, S. Zhang, P. Vohra, W. Yu, D. Huang, P. Sithithaworn, P. Yongvanit, S. Wongkham, N. Khuntikeo, V. Bhudhisawasdi, I. Popescu, S. G. Rozen, P. Tan, and B. T. Teh. 2013. Exome sequencing identifies distinct mutational patterns in liver fluke-related and non-infection-related bile duct cancers. Nature genetics 45:1474-1478.

9. Chusorn, P., N. Namwat, W. Loilome, A. Techasen, C. Pairojkul, N. Khuntikeo, A. Dechakhamphu, C. Talabnin, W. Chan-On, C. K. Ong, B. T. Teh, and P. Yongvanit. 2013. Overexpression of microRNA-21 regulating PDCD4 during tumorigenesis of liver fluke-associated cholangiocarcinoma contributes to tumor growth and metastasis. Tumour biology : the journal of the International Society for Oncodevelopmental Biology and Medicine 34:1579-1588.

10. Dokduang, H., S. Juntana, A. Techasen, N. Namwat, P. Yongvanit, N. Khuntikeo, G. J. Riggins, and W. Loilome. 2013. Survey of activated kinase proteins reveals potential targets for cholangiocarcinoma treatment. Tumour biology : the journal of the International Society for Oncodevelopmental Biology and Medicine 34:3519-3528.

11. Dokduang, H., A. Techasen, N. Namwat, N. Khuntikeo, C. Pairojkul, Y. Murakami, W. Loilome, and P. Yongvanit. 2014. STATs profiling reveals predominantly-activated STAT3 in cholangiocarcinoma genesis and progression. Journal of hepato-biliary-pancreatic sciences 21:767-776.

12. Duangkumpha, K., A. Techasen, W. Loilome, N. Namwat, R. Thanan, N. Khuntikeo, and P. Yongvanit. 2014. BMP-7 blocks the effects of TGF-beta-induced EMT in cholangiocarcinoma. Tumour biology : the journal of the International Society for Oncodevelopmental Biology and Medicine 35:9667-9676.

13. Hahnvajanawong, C., J. Chaiyagool, W. Seubwai, V. Bhudhisawasdi, N. Namwat, N. Khuntikeo, B. Sripa, A. Pugkhem, and W. Tassaneeyakul. 2012. Orotate phosphoribosyl transferase mRNA expression and the response of cholangiocarcinoma to 5-fluorouracil. World journal of gastroenterology 18:3955-3961.

14. Haonon, O., R. Rucksaken, P. Pinlaor, C. Pairojkul, Y. Chamgramol, K. Intuyod, S. Onsurathum, N. Khuntikeo, and S. Pinlaor. 2015. Upregulation of 14-3-3 eta in chronic liver fluke infection is a potential diagnostic marker of cholangiocarcinoma. Proteomics. Clinical applications.

15. Hongsrichan, N., R. Rucksaken, Y. Chamgramol, P. Pinlaor, A. Techasen, P. Yongvanit, N. Khuntikeo, C. Pairojkul, and S. Pinlaor. 2013. Annexin A1: A new immunohistological marker of cholangiocarcinoma. World journal of gastroenterology 19:2456-2465.

16. Jongthawin, J., P. Chusorn, A. Techasen, W. Loilome, T. Boonmars, R. Thanan, A. Puapairoj, N. Khuntikeo, W. Tassaneeyakul, P. Yongvanit, and N. Namwat. 2014. PGE2 signaling and its biosynthesis-related enzymes in cholangiocarcinoma progression. Tumour biology : the journal of the International Society for Oncodevelopmental Biology and Medicine 35:8051-8064.

17. Juntavee, A., B. Sripa, A. Pugkhem, N. Khuntikeo, and S. Wongkham. 2005. Expression of sialyl Lewis(a) relates to poor prognosis in cholangiocarcinoma. World journal of gastroenterology 11:249-254.

18. Jusakul, A., N. Khuntikeo, W. G. Haigh, R. Kuver, G. N. Ioannou, W. Loilome, N. Namwat, V. Bhudhisawasdi, A. Pugkhem, C. Pairojkul, and P. Yongvanit. 2012. Identification of biliary bile acids in patients with benign biliary diseases, hepatocellular carcinoma and cholangiocarcinoma. Asian Pacific journal of cancer prevention : APJCP 13 Suppl:77-82.

19. Kamsa-ard, S., S. Wiangnon, K. Suwanrungruang, S. Promthet, N. Khuntikeo, and S. Mahaweerawat. 2011. Trends in liver cancer incidence between 1985 and 2009, Khon Kaen, Thailand: cholangiocarcinoma. Asian Pacific journal of cancer prevention : APJCP 12:2209-2213.

20. Khamanarong, K., W. Woraputtaporn, P. Amarttayakong, A. Ahooja, and N. Khuntikeo. 2015. Classification of portal vein tributaries in Thai cadavers including a new type V. Surgical and radiologic anatomy : SRA.

21. Khansaard, W., A. Techasen, N. Namwat, P. Yongvanit, N. Khuntikeo, A. Puapairoj, and W. Loilome. 2014. Increased EphB2 expression predicts cholangiocarcinoma metastasis. Tumour biology : the journal of the International Society for Oncodevelopmental Biology and Medicine 35:10031-10041.

22. Khoontawad, J., N. Hongsrichan, Y. Chamgramol, P. Pinlaor, C. Wongkham, P. Yongvanit, C. Pairojkul, N. Khuntikeo, S. Roytrakul, T. Boonmars, and S. Pinlaor. 2014. Increase of exostosin 1 in plasma as a potential biomarker for opisthorchiasis-associated cholangiocarcinoma. Tumour biology : the journal of the International Society for Oncodevelopmental Biology and Medicine 35:1029-1039.

23. Khunluck, T., V. Kukongviriyapan, A. Puapairoj, N. Khuntikeo, L. Senggunprai, P. Zeekpudsa, and A. Prawan. 2014. Association of NRF2 polymorphism with cholangiocarcinoma prognosis in Thai patients. Asian Pacific journal of cancer prevention : APJCP 15:299-304.

24. Khuntikeo, N., N. Chamadol, P. Yongvanit, W. Loilome, N. Namwat, P. Sithithaworn, R. H. Andrews, T. N. Petney, S. Promthet, K. Thinkhamrop, C. Tawarungruang, and B. Thinkhamrop. 2015. Cohort profile: cholangiocarcinoma screening and care program (CASCAP). BMC cancer 15:459.

25. Khuntikeo, N., W. Loilome, B. Thinkhamrop, N. Chamadol, and P. Yongvanit. 2016. A Comprehensive Public Health Conceptual Framework and Strategy to Effectively Combat Cholangiocarcinoma in Thailand. PLoS neglected tropical diseases 10:e0004293.

26. Khuntikeo, N., A. Pugkhem, V. Bhudhisawasdi, and T. Uttaravichien. 2008. Major hepatic resection for hilar cholangiocarcinoma without preoperative biliary drainage. Asian Pacific journal of cancer prevention : APJCP 9:83-85.

27. Khuntikeo, N., A. Pugkhem, A. Titapun, and V. Bhudhisawasdi. 2014. Surgical management of perihilar cholangiocarcinoma: a Khon Kaen experience. Journal of hepato-biliary-pancreatic sciences 21:521-524.

28. Kongpetch, S., A. Puapairoj, C. K. Ong, L. Senggunprai, A. Prawan, U. Kukongviriyapan, W. Chan-On, E. Y. Siew, N. Khuntikeo, B. T. Teh, and V. Kukongviriyapan. 2016. Haem oxygenase 1 expression is associated with prognosis in cholangiocarcinoma patients and with drug sensitivity in xenografted mice. Cell proliferation 49:90-101.

29. Kraiklang, R., C. Pairojkul, N. Khuntikeo, K. Imtawil, S. Wongkham, and C. Wongkham. 2014. A novel predictive equation for potential diagnosis of cholangiocarcinoma. PloS one 9:e89337.

30. Kunlabut, K., K. Vaeteewoottacharn, C. Wongkham, N. Khuntikeo, S. Waraasawapati, C. Pairojkul, and S. Wongkham. 2012. Aberrant expression of CD44 in bile duct cancer correlates with poor prognosis. Asian Pacific journal of cancer prevention : APJCP 13 Suppl:95-99.

31. Loilome, W., P. Bungkanjana, A. Techasen, N. Namwat, P. Yongvanit, A. Puapairoj, N. Khuntikeo, and G. J. Riggins. 2014. Activated macrophages promote Wnt/beta-catenin signaling in cholangiocarcinoma cells. Tumour biology : the journal of the International Society for Oncodevelopmental Biology and Medicine 35:5357-5367.

32. Namwat, N., P. Chusorn, W. Loilome, A. Techasen, J. Puetkasichonpasutha, C. Pairojkul, N. Khuntikeo, and P. Yongvanit. 2012. Expression profiles of oncomir miR-21 and tumor suppressor let-7a in the progression of opisthorchiasis-associated cholangiocarcinoma. Asian Pacific journal of cancer prevention : APJCP 13 Suppl:65-69.

33. Namwat, N., J. Puetkasichonpasutha, W. Loilome, P. Yongvanit, A. Techasen, A. Puapairoj, B. Sripa, W. Tassaneeyakul, N. Khuntikeo, and S. Wongkham. 2011. Downregulation of reversion-inducing-cysteine-rich protein with Kazal motifs (RECK) is associated with enhanced expression of matrix metalloproteinases and cholangiocarcinoma metastases. Journal of gastroenterology 46:664-675.

34. Pattanathien, P., N. Khuntikeo, S. Promthet, and S. Kamsa-Ard. 2013. Survival rate of extrahepatic cholangiocarcinoma patients after surgical treatment in Thailand. Asian Pacific journal of cancer prevention : APJCP 14:321-324.

35. Prakobwong, S., L. Charoensuk, Y. Hiraku, P. Pinlaor, C. Pairojkul, E. Mairiang, P. Sithithaworn, P. Yongvanit, N. Khuntikeo, and S. Pinlaor. 2012. Plasma hydroxyproline, MMP-7 and collagen I as novel predictive risk markers of hepatobiliary disease-associated cholangiocarcinoma. International journal of cancer. Journal international du cancer 131:E416-424.

36. Rucksaken, R., C. Pairojkul, P. Pinlaor, N. Khuntikeo, S. Roytrakul, C. Selmi, and S. Pinlaor. 2014. Plasma autoantibodies against heat shock protein 70, enolase 1 and ribonuclease/angiogenin inhibitor 1 as potential biomarkers for cholangiocarcinoma. PloS one 9:e103259.

37. Saelee, P., S. Wongkham, A. Puapairoj, N. Khuntikeo, S. Petmitr, S. Chariyalertsak, W. Sumethchotimaytha, and A. Karalak. 2009. Novel PNLIPRP3 and DOCK8 gene expression and prognostic implications of DNA loss on chromosome 10q25.3 in hepatocellular carcinoma. Asian Pacific journal of cancer prevention : APJCP 10:501-506.

38. Saichua, P., P. Sithithaworn, A. R. Jariwala, D. J. Diemert, J. Sithithaworn, B. Sripa, T. Laha, E. Mairiang, C. Pairojkul, M. V. Periago, N. Khuntikeo, J. Mulvenna, and J. M. Bethony. 2013. Microproteinuria during Opisthorchis viverrini infection: a biomarker for advanced renal and hepatobiliary pathologies from chronic opisthorchiasis. PLoS neglected tropical diseases 7:e2228.

39. Saichua, P., A. Yakovleva, C. Kamamia, A. R. Jariwala, J. Sithithaworn, B. Sripa, P. J. Brindley, T. Laha, E. Mairiang, C. Pairojkul, N. Khuntikeo, J. Mulvenna, P. Sithithaworn, and J. M. Bethony. 2015. Levels of 8-OxodG Predict Hepatobiliary Pathology in Opisthorchis viverrini Endemic Settings in Thailand. PLoS neglected tropical diseases 9:e0003949.

40. Seubwai, W., C. Wongkham, A. Puapairoj, N. Khuntikeo, A. Pugkhem, C. Hahnvajanawong, J. Chaiyagool, K. Umezawa, S. Okada, and S. Wongkham. 2014. Aberrant expression of NF-kappaB in liver fluke associated cholangiocarcinoma: implications for targeted therapy. PloS one 9:e106056.

41. Seubwai, W., C. Wongkham, A. Puapairoj, N. Khuntikeo, and S. Wongkham. 2007. Overexpression of vitamin D receptor indicates a good prognosis for cholangiocarcinoma: implications for therapeutics. Cancer 109:2497-2505.

42. Silakit, R., W. Loilome, P. Yongvanit, P. Chusorn, A. Techasen, T. Boonmars, N. Khuntikeo, N. Chamadol, C. Pairojkul, and N. Namwat. 2014. Circulating miR-192 in liver fluke-associated cholangiocarcinoma patients: a prospective prognostic indicator. Journal of hepato-biliary-pancreatic sciences 21:864-872.

43. Silakit, R., W. Loilome, P. Yongvanit, S. Thongchot, P. Sithithaworn, T. Boonmars, S. Koonmee, A. Titapun, N. Khuntikeo, N. Chamadol, A. Techasen, and N. Namwat. 2015. Urinary microRNA-192 and microRNA-21 as potential indicators for liver fluke-associated cholangiocarcinoma risk group. Parasitology international.

44. Sookprasert, A., A. Pugkhem, N. Khuntikeo, S. Chur-in, N. Chamadol, A. Prawan, S. Janeklang, K. Vaeteewoottacharn, V. Kukongviriyapan, C. Pairojkul, V. Bhudhisawasdi, and S. Wongkham. 2012. Evaluation of efficacy, safety and tolerability of high dose-intermittent calcitriol supplementation to advanced intrahepatic cholangiocarcinoma patients–a pilot study. Asian Pacific journal of cancer prevention : APJCP 13 Suppl:161-167.

45. Sriputtha, S., N. Khuntikeo, S. Promthet, and S. Kamsa-Ard. 2013. Survival rate of intrahepatic cholangiocarcinoma patients after surgical treatment in Thailand. Asian Pacific journal of cancer prevention : APJCP 14:1107-1110.

46. Subimerb, C., S. Pinlaor, N. Khuntikeo, C. Leelayuwat, A. Morris, M. S. McGrath, and S. Wongkham. 2010. Tissue invasive macrophage density is correlated with prognosis in cholangiocarcinoma. Molecular medicine reports 3:597-605.

47. Subimerb, C., S. Pinlaor, V. Lulitanond, N. Khuntikeo, S. Okada, M. S. McGrath, and S. Wongkham. 2010. Circulating CD14(+) CD16(+) monocyte levels predict tissue invasive character of cholangiocarcinoma. Clinical and experimental immunology 161:471-479.

48. Subimerb, C., C. Wongkham, N. Khuntikeo, C. Leelayuwat, M. S. McGrath, and S. Wongkham. 2014. Transcriptional profiles of peripheral blood leukocytes identify patients with cholangiocarcinoma and predict outcome. Asian Pacific journal of cancer prevention : APJCP 15:4217-4224.

49. Tavichakorntrakool, R., V. Prasongwattana, P. Sriboonlue, A. Puapairoj, J. Pongskul, N. Khuntikeo, W. Hanpanich, P. T. Yenchitsomanus, C. Wongkham, and V. Thongboonkerd. 2008. Serial analyses of postmortem changes in human skeletal muscle: A case study of alterations in proteome profile, histology, electrolyte contents, water composition, and enzyme activity. Proteomics. Clinical applications 2:1255-1264.

50. Techasen, A., W. Loilome, N. Namwat, N. Khuntikeo, A. Puapairoj, P. Jearanaikoon, H. Saya, and P. Yongvanit. 2014. Loss of E-cadherin promotes migration and invasion of cholangiocarcinoma cells and serves as a potential marker of metastasis. Tumour biology : the journal of the International Society for Oncodevelopmental Biology and Medicine 35:8645-8652.

51. Techasen, A., N. Namwat, W. Loilome, P. Bungkanjana, N. Khuntikeo, A. Puapairoj, P. Jearanaikoon, H. Saya, and P. Yongvanit. 2012. Tumor necrosis factor-alpha (TNF-alpha) stimulates the epithelial-mesenchymal transition regulator Snail in cholangiocarcinoma. Med Oncol 29:3083-3091.

52. Thanan, R., M. Murata, S. Pinlaor, P. Sithithaworn, N. Khuntikeo, W. Tangkanakul, Y. Hiraku, S. Oikawa, P. Yongvanit, and S. Kawanishi. 2008. Urinary 8-oxo-7,8-dihydro-2′-deoxyguanosine in patients with parasite infection and effect of antiparasitic drug in relation to cholangiocarcinogenesis. Cancer epidemiology, biomarkers & prevention : a publication of the American Association for Cancer Research, cosponsored by the American Society of Preventive Oncology 17:518-524.

53. Thanan, R., S. Oikawa, P. Yongvanit, Y. Hiraku, N. Ma, S. Pinlaor, C. Pairojkul, C. Wongkham, B. Sripa, N. Khuntikeo, S. Kawanishi, and M. Murata. 2012. Inflammation-induced protein carbonylation contributes to poor prognosis for cholangiocarcinoma. Free radical biology & medicine 52:1465-1472.

54. Thanan, R., C. Pairojkul, S. Pinlaor, N. Khuntikeo, C. Wongkham, B. Sripa, N. Ma, K. Vaeteewoottacharn, A. Furukawa, H. Kobayashi, Y. Hiraku, S. Oikawa, S. Kawanishi, P. Yongvanit, and M. Murata. 2013. Inflammation-related DNA damage and expression of CD133 and Oct3/4 in cholangiocarcinoma patients with poor prognosis. Free radical biology & medicine 65:1464-1472.

55. Thanasai, J., T. Limpaiboon, P. Jearanaikoon, V. Bhudhisawasdi, N. Khuntikeo, B. Sripa, and M. Miwa. 2006. Amplification of D22S283 as a favorable prognostic indicator in liver fluke related cholangiocarcinoma. World journal of gastroenterology 12:4338-4344.

56. Thinkhamrop, K., N. Khuntikeo, P. Phonjitt, N. Chamadol, B. Thinkhamrop, M. A. Moore, and S. Promthet. 2015. Association between Diabetes Mellitus and Fatty Liver Based on Ultrasonography Screening in the World’s Highest Cholangiocarcinoma Incidence Region, Northeast Thailand. Asian Pacific journal of cancer prevention : APJCP 16:3931-3936.

57. Titapun, A., A. Pugkhem, V. Luvira, T. Srisuk, O. Somintara, O. T. Saeseow, A. Sripanuskul, A. Nimboriboonporn, B. Thinkhamrop, and N. Khuntikeo. 2015. Outcome of curative resection for perihilar cholangiocarcinoma in Northeast Thailand. World journal of gastrointestinal oncology 7:503-512.

58. Tolek, A., C. Wongkham, S. Proungvitaya, A. Silsirivanit, S. Roytrakul, N. Khuntikeo, and S. Wongkham. 2012. Serum alpha1beta-glycoprotein and afamin ratio as potential diagnostic and prognostic markers in cholangiocarcinoma. Exp Biol Med (Maywood) 237:1142-1149.

59. Wiangnon, S., S. Kamsa-ard, K. Suwanrungruang, S. Promthet, S. Mahaweerawat, and N. Khuntikeo. 2012. Trends in incidence of hepatocellular carcinoma, 1990-2009, Khon Kaen, Thailand. Asian Pacific journal of cancer prevention : APJCP 13:1065-1068.

60. Wirasorn, K., T. Ngamprasertchai, N. Khuntikeo, A. Pakkhem, P. Ungarereevittaya, J. Chindaprasirt, and A. Sookprasert. 2013. Adjuvant chemotherapy in resectable cholangiocarcinoma patients. Journal of gastroenterology and hepatology 28:1885-1891.

61. Wu, Z., T. Boonmars, I. Nagano, W. Loilome, P. Yongvanit, N. Khuntikeo, P. S. Nielsen, C. Paorojkul, Y. Takahashi, and Y. Maekawa. 2014. Milk fat globule epidermal growth factor 8 serves a novel biomarker of opisthorchiasis-associated cholangiocarcinoma. Tumour biology : the journal of the International Society for Oncodevelopmental Biology and Medicine 35:1985-1995.

62. Yongvanit, P., E. Phanomsri, N. Namwat, J. Kampan, W. Tassaneeyakul, W. Loilome, A. Puapairoj, and N. Khuntikeo. 2012. Hepatic cytochrome P450 2A6 and 2E1 status in peri-tumor tissues of patients with Opisthorchis viverrini-associated cholangiocarcinoma. Parasitology international 61:162-166.

63. Yothaisong, S., N. Namwat, P. Yongvanit, N. Khuntikeo, A. Puapairoj, P. Jutabha, N. Anzai, W. Tassaneeyakul, P. Tangsucharit, and W. Loilome. 2015. Increase in L-type amino acid transporter 1 expression during cholangiocarcinogenesis caused by liver fluke infection and its prognostic significance. Parasitology international.

64. Ziegler, A. D., P. Echaubard, Y. T. Lee, C. J. Chuah, B. A. Wilcox, C. Grundy-Warr, P. Sithithaworn, T. N. Petney, L. Laithevewat, X. Ong, R. H. Andrews, T. Ismail, B. Sripa, N. Khuntikeo, K. Poonpon, P. Tungtang, and K. Tuamsuk. 2016. Untangling the Complexity of Liver Fluke Infection and Cholangiocarcinoma in NE Thailand Through Transdisciplinary Learning. EcoHealth.

14.2 หลักฐานความเป็นผู้มีความรู้ความสามารถและเชี่ยวชาญในกลุ่มเรื่องที่กำหนด

รศ.นพ. ณรงค์ ขันตีแก้ว เป็นลูกอีสาน ที่บ้านทำนา ใช้ชีวิตเหมือนเด็กๆชาวบ้านทั่วไป เคยได้ยินเรื่องผู้ใหญ่เสียชีวิตจากโรคตับ แต่ก็ไม่ได้สนใจอะไร แต่ตอนที่คุณหมอกำลังศึกษาอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1คุณตาของคุณหมอณรงค์ก็เสียชีวิตด้วยโรคตับเหมือนกัน ซึ่งคุณหมอได้เห็นความทรมานของคุณตา ที่มีอาการตัวเหลืองตาเหลือง ไม่ได้นอนทั้งคืนเพราะคัน คันมากจนไม่รู้จะเกาอย่างไร และต่อมาปี 2538 คุณพ่อของคุณหมอก็เสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งท่อน้ำดีที่ขั้วตับ ภายหลังได้รับการรักษาด้วยการผ่าตัดทำทางลัดท่อน้ำดี เพราะไม่สามารถตัดเนื้องอกออกได้ และอีก 10 ปีต่อมาคุณแม่ก็จากไปด้วยโรคมะเร็งท่อน้ำดีเช่นเดียวกัน ซึ่งเหตุการณ์ทั้งหมดทำให้คุณหมอตั้งฉายาของครอบครัวตัวเองว่า “ครอบครัวมะเร็งท่อน้ำดี”

รศ.นพ. ณรงค์ ขันตีแก้ว เรียนจบแพทยศาสตร์บัณฑิต เมื่อปี 2527 จากคณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น และเข้ารับการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านสาขาศัลยศาสตร์ หลังจากนั้นก็เข้ารับราชการตำแหน่งอาจารย์ ประจำภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ทำให้ได้มีโอกาสดูแลผู้ป่วยมะเร็งท่อน้ำดีจำนวนมากและในช่วงนั้นส่วนใหญ่แล้วผลการรักษาไม่ดี จนทำให้เข้าใจว่าโรคนี้รักษาไม่หาย จนกระทั่งเมื่อปี 2537 ได้มีโอกาสไปศึกษาต่อเกี่ยวกับการผ่าตัดตับ ทางเดินน้ำดีและตับอ่อน รวมทั้งการปลูกถ่ายตับจากออสเตรเลีย พอกลับมาก็เริ่มสนใจการผ่าตัดรักษาผู้ป่วยมะเร็งท่อน้ำดีมากขึ้น และได้ใช้ความรู้และประสบการณ์จากที่ได้ทำงานและที่ได้เรียนมาพัฒนาวิธีการผ่าตัดและการรักษาจนในที่สุดก็พบว่าผู้ป่วยมีชีวิตยืนยาวขึ้นและปลอดภัยจากการผ่าตัดมากขึ้น และทำให้มีความเชื่อมั่นว่าโรคนี้สามารถรักษาให้หายขาดได้ นอกจากนี้ยังได้ข้อสังเกตว่าเราได้พบผู้ป่วยระยะแรกๆเพิ่มขึ้นเช่นกัน ส่วนใหญ่เป็นผู้ป่วยที่ทราบว่าตัวเองเป็นโรคมะเร็งท่อน้ำดีจากการไปรับการตรวจอัลตร้าซาวด์ช่องท้องจากคลินิกตามอำเภอต่างๆ  ทำให้เริ่มคิดว่าต้องทำอะไรสักอย่างเพื่อบอกคนอื่นๆว่าโรคนี้รักษาได้ถ้าตรวจพบเมื่อเริ่มเป็นโรค ซึ่งจากแรงบันดาลใจที่ได้จากการที่คนในครอบครัวเสียชีวิตจากโรคนี้ ร่วมกับประสบการณ์กว่า 30 ปีที่ รศ.นพ. ณรงค์ คลุกคลีอยู่กับผู้ป่วยมะเร็งท่อน้ำดีทำให้ รศ.นพ. ณรงค์ตระหนักถึงผลกระทบของปัญหาโรคมะเร็งท่อน้ำดี ซึ่งก่อให้เกิดความสูญเสียทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม คุณภาพชีวิตและความมั่นคงของประชาชนโดยเฉพาะพี่น้องประชาชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นอย่างมาก ด้วยเหตุนี้รศ.นพ. ณรงค์ ซึ่งเป็นศัลยแพทย์ได้มาทำงานด้านสาธารณสุขควบคู่กับการรักษาเพื่อแก้ไขปัญหาโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำได้อย่างจริงจัง อันประกอบด้วย

  1. เป็นหัวหน้าโครงการแก้ไขปัญหาพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดีในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (Cholangiocarcinoma Screening and Care Program:CASCAP)ซึ่งเป็นหนึ่งในโครงการ 50 ปีมหาวิทยาลัยขอนแก่น อุทิศตนเพื่อสังคม ซึ่งถือเป็นโครงการนำร่องที่จะวางแนวทางในการเฝ้าระวัง ตรวจคัดกรองกลุ่มเสี่ยง ตรวจวินิจฉัยและรักษาโรคมะเร็งท่อน้ำดีร่วมกันอย่างเป็นระบบ เพื่อที่จะทำให้การรักษามีประสิทธิภาพโดยหวังผลให้หายขาด (curative treatment) หรือได้รับการรักษาแบบประคับประคอง (palliative treatment) เพื่อให้คนไข้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น รวมถึงนำไปสู่การทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางนโยบายระดับชาติด้านสาธารณสุขของโรคมะเร็งท่อน้ำดีในอนาคต ซึ่งโครงการได้ดำเนินการใน 3 ส่วน ดังนี้
    • การรณรงค์เพื่อการป้องกันโรค โดยเน้นมาตรการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อสุขภาพ โดยเฉพาะการเป็นโรคพยาธิใบไม้ตับ การรณรงค์ชาวอีสานแท้กินแต่ปลาสุก การรณรงค์สุขภาพดีวิถีอีสาน การรณรงค์อยู่ ภายใต้ความร่วมมือกับสาธารณสุขจังหวัด สำนักงานควบคุมโรค ผู้ว่าราชการจังหวัดและองค์กรท้องถิ่น เพื่อสร้างชุมชนต้นแบบให้ประชาชนและเยาวชนในท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการตระหนักรู้และป้องกันตนเองให้มีสุขภาพดี ปราศจากการติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับ
    • การเฝ้าระวัง (Surveillance) และคัดกรอง (Screening) มะเร็งท่อน้ำดีโดยการตรวจอัลตร้าซาวด์ ซึ่งจะดำเนินการโดยโรงพยาบาลชุมชน โรงพยาบาลเครือข่ายร่วมกับสาธารณสุขแต่ละจังหวัดที่เข้าร่วมโครงการในการตรวจคัดกรองกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มผู้ป่วยโรคมะเร็งท่อน้ำดีในระยะเริ่มแรกรวมถึงการเชื่อมโยงฐานข้อมูลด้านการแพทย์และสุขภาพ (ฐานข้อมูล 21/43 แฟ้ม) ให้สามารถติดตามการเปลี่ยนแปลงผลการคัดกรองกลุ่มเสี่ยง และผลการรักษากลุ่มผู้ป่วย ได้อย่างมีประสิทธิภาพมีการพัฒนาโปรแกรมที่มีชื่อว่า CASCAP Tools ซึ่งเป็นระบบคอมพิวเตอร์อัจฉริยะที่ใช้เพื่อจัดเก็บข้อมูลกลุ่มเสี่ยงและผู้ป่วยมะเร็งท่อน้ำดีอย่างเป็นระบบ ซึ่งจะทำให้สามารถจัดเก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มเสี่ยงและผู้ป่วยมะเร็งท่อน้ำดีตั้งแต่ในเรื่องของการลงทะเบียนกลุ่มเสี่ยง การตรวจคัดกรอง การตรวจวินิจฉัยตลอดจนติดตามผลการรักษาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งระบบของ CASCAP จะสามารถเชื่อมโยงกับการทำงานปกติของบุคลากรกระทรวงสาธารณสุข ทำให้ง่ายและมีประสิทธิภาพในการจัดการดูแลรักษาผู้ป่วย
    • การสร้างเครือข่ายบริหารจัดการโรคมะเร็งท่อน้ำดี ซึ่งเป็นการบูรณาการ  การรักษาแบบหายขาด และการรักษาแบบประคับประคอง โดยมุ่งเน้นเพื่อลดอัตราการตาย และอัตราการเจ็บป่วย จากการผ่าตัด และใช้อัตรารอดชีพ คุณภาพชีวิต และความคุ้มค่าคุ้มทุน เป็นเครื่องชี้วัด  โดยเสนอให้ผู้ร่วมโครงการ คือ หน่วยงานต่างๆในสังกัดของกระทรวงสาธารณสุข ร่วมกับ มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยมี โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นแม่ข่ายในการดำเนินกิจกรรม ซึ่งได้แก่พัฒนาขีดความสามารถของศัลยแพทย์ วิสัญญีแพทย์พยาบาล ฯลฯ มีการจัดทำทะเบียนมะเร็งท่อน้ำดี (Tumor registry) การวิจัยเพื่อวิเคราะห์ความคุ้มค่า (Cost analysis) ของการคัดกรอง วินิจฉัยและรักษาโรคมะเร็งท่อน้ำดีที่พัฒนาในโครงการนี้ ทั้งในระดับปฐมภูมิ ทุติยภูมิและตติยภูมิ
  2. เป็นผู้ผลักดันให้เกิดการประกาศยุทธศาสตร์ “กำจัดพยาธิใบไม้ตับ ลดมะเร็งท่อน้ำดี วาระคนอีสาน” ได้มีการลงนามบันทึกข้อตกลงทางวิชาการร่วมกับกระทรวงสาธารณสุขและมูลนิธิมะเร็งท่อน้ำดีในการร่วมมือกันทำโครงการแก้ไขปัญหาพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดีในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
  3. เป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้งมูลนิธิมะเร็งท่อน้ำดีเมื่อวันที่ 25 กันยายน 2555 โดยทางมูลนิธิได้จัดกิจกรรมต่างๆเพื่อระดมทุนในการช่วยเหลือผู้ป่วยเร็งท่อน้ำดีในด้านต่างๆได้แก่

(1) เพิ่มโอกาสช่วยเหลือผู้ป่วยมะเร็งท่อน้ำดีที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เช่นค่าใช้จ่ายในการเดินทาง การดูแลสภาพความเป็นอยู่ของผู้ป่วย

(2) ให้ความรู้แก่ประชาชนทั่วไป เพื่อลดการเกิดมะเร็งท่อน้ำดี

(3) สนับสนุนทุนการศึกษาพัฒนาบุคลากรทางการแพทย์ในการดูแลรักษาผู้ป่วยมะเร็งท่อน้ำดี

(4) เป็นทุนสำรองในการจัดหาและพัฒนาอุปกรณ์ทางการแพทย์ในการดูแลรักษาผู้ป่วยมะเร็งท่อน้ำดี

ซึ่งขณะนี้ทางมูลนิธิมะเร็งท่อน้ำดีได้ทำบันทึกความร่วมมือกับบริษัท เคาน์เตอร์   เซอร์วิส จำกัดมหาชน ในเครือของบริษัท CP all ซึ่งเป็นผู้บริหารร้านสะดวกซื้อ เซเว่น อีเลฟเว่น ในการดำเนินโครงการ “เซเว่นอีเลฟเว่นและเคาน์เตอร์เซอร์วิส ชวนคนไทยช่วยเหลือผู้ป่วยมะเร็งท่อน้ำดี ซึ่งได้มีการเปิดรับบริจาคผ่านเคาน์เตอร์เซอร์วิสของร้านเซเว่นอีเลฟเว่น ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2557 เป็นระยะเวลา 3 ปี เพื่อเป็นการระดมทุนเพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยมะเร็งท่อน้ำดีที่ยากไร้ และสนับสนุนกิจกรรมการคัดกรองและเฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยง รวมถึงการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหาโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี

  1. เป็นผู้ผลักดันให้ปัญหาพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดีเข้าสมัชชาสุขภาพแห่งชาติเพื่อให้ภาคประชาชนได้ตระหนักว่าปัญหานี้เป็นปัญหาของตนเองและเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหา โดยขณะนี้ปัญหาพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดีได้ถูกบรรจุเป็นวาระแห่งชาติในการประชุมสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 7 ที่จะจัดขึ้นในวันที่ 24-26 ธันวาคม 2557 และผ่านการพิจารณาคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2558 และในขณะนี้กระทรวงสาธารณสุขประกาศให้การแก้ไขปัญหาพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่น้ำดีเป็นนโยบายของกระทรวงสาธารณสุข โดยในปี 2559รวมถึงมีการกำหนดเป็นยุทธศาสตร์ 10 ปีของการทำงาน
  2. เป็นผู้อำนวยการศูนย์วิจัยพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี มหาวิทยาลัยขอนแก่น ศูนย์วิจัยพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้ก่อตั้งขึ้นโดยความเห็นชอบของสภามหาวิทยาลัยขอนแก่นในปี พ.ศ. 2545 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมผู้เชี่ยวชาญ นักวิจัยและประสานความร่วมมือนักวิจัยทั้งในและต่างประเทศ เพื่อดำเนินการวิจัย สร้างองค์ความรู้และถ่ายทอดเทคโนโลยี ที่นำไปสู่การป้องกัน วินิจฉัย และการดูแลรักษาที่มีประสิทธิภาพที่เกี่ยวข้องกับการติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับและการเกิดมะเร็งท่อน้ำดี โดยผนวกการสร้างเสริมความเข้มแข็งของระบบบัณฑิตศึกษาให้สามารถผลิตผลงานวิทยานิพนธ์ให้ได้มาตรฐานระดับสากล  เพิ่มศักยภาพและสร้างความเข้มแข็งของนักวิจัยรุ่นใหม่เพื่อเป็นกำลังสำคัญด้านการวิจัยให้กับมหาวิทยาลัย โดยเฉพาะความรู้และความชำนาญที่เกิดจากการสั่งสมประสบการณ์การวิจัยด้านพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี   คณะบุคคลจากหลากหลายวิทยาการสังกัดคณะแพทยศาสตร์ ได้แก่ ศัลยแพทย์ พยาธิแพทย์ พยาบาลและอาจารย์สังกัดภาควิชาชีวเคมี เภสัชวิทยา พยาธิวิทยาและปรสิตวิทยา ได้รวมตัวกันเป็นกลุ่มวิจัยมะเร็งท่อน้ำดีภายใต้การสนับสนุนของคณะแพทยศาสตร์ จากการที่มีความสนใจและเป้าหมายเดียวกันในการศึกษาวิจัยเพื่อแก้ไขปัญหาพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดีในภาคอีสาน โดยผู้อำนวยการศูนย์ฯท่านแรกคือรศ.นพ.วัชรพงษ์ พุทธิสวัสดิ์ (2545-2558)  ได้ร่วมกันวางระบบพื้นฐานที่จำเป็นต่อกันการวิจัยในเรื่องดังกล่าว ได้แก่ การรวบรวมองค์ความรู้ที่กระจัดกระจายเพื่อให้ได้ข้อปัญหาที่ควรได้รับการตอบจากการวิจัย  การสร้างกลุ่มและสัมพันธภาพของกลุ่ม ระบบจัดเก็บตัวอย่างชีวภาพจากผู้ป่วย ระบบฐานข้อมูลด้านคลินิกผู้ป่วย การพัฒนาเซลล์เพาะเลี้ยงมะเร็งท่อน้ำดีจากมะเร็งต้นกำเนิด และระบบการดูแลสัตว์ทดลอง เป็นต้น  ทั้งนี้เพื่อให้นักวิจัยสามารถพัฒนางานวิจัยทั้งในระดับพื้นฐานเชิงลึก งานวิจัยที่สัมพันธ์กับคลินิก และการถ่ายทอดความรู้จากการวิจัยสู่แนวปฏิบัติ  นอกจากนี้ยังได้วางรากฐานของสังคมวิจัยแบบเกื้อกูล ระบบพี่เลี้ยงและการจัดการองค์ความรู้  การใช้หลักธรรมาภิบาลในการบริหารองค์กรและการประสานความร่วมมือกับนักวิจัยทั้งในและนอกประเทศ เพื่อศึกษาวิจัยองค์ความรู้ที่นำสู่การแก้ปัญหาพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดีในประเทศไทย

 

14.3 หลักฐานแสดงด้านศักยภาพและประสบการณ์ในการบริหารจัดการโครงการ

2557-ปัจจุบัน หัวหน้าโครงการแก้ไขปัญหาโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดีในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
2557-ปัจจุบัน หัวหน้าโครงการพัฒนาระบบสาธารณสุขเพื่อการตรวจคัดกรอง ตรวจวินิจฉัยและบริหารจัดการผู้ป่วยมะเร็งท่อน้ำดีในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) และ สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.)
2554-2558

2558-ปัจจุบัน

กรรมการบริหารศูนย์วิจัยพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี

ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี

มหาวิทยาลัยขอนแก่น

มหาวิทยาลัยขอนแก่น

15. หนังสือรับรองจากหน่วยงานต้นสังกัด

16. ลงลายมือชื่อผู้บริหารจัดการโครงการวิจัย (Director)

ลงนาม……………………………………………..

(รศ.นพ.ณรงค์ ขันตีแก้ว)

ผู้บริหารจัดการโครงการวิจัย (Director)

วันที่…………กุมภาพันธ์ 2559


Facebook Comments Box